วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ประวัติวันวิสาขบูชา


วันวิสาขบูชา หรือ วันเพ็ญเดือน 6 นับเป็นวันที่สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธศาสนามากถึง 3 เหตุการณ์ คือ เป็นวันคล้ายวันประสูติ, ตรัสรู้ และปรินิพพาน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้นจึงมีคำเรียกวันนี้อีกอย่างหนึ่งว่า "วัน พระพุทธเจ้า"



ความ สำคัญ

วันวิสาขบูชาเป็นวันที่ระลึกถึงวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานขององค์องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งตรงกับวันเพ็ญ เดือนวิสาขมาส (เดือน 6) ตรงกันทั้ง 3 คราว คือ

- เช้าวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี เจ้าชายสิทธัตถะประสูติ ที่พระราชอุทยานลุมพินีวันระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับเทวทหะ



- เช้ามืดวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี เจ้าชายสิทธัตถะ ตรัสรู้ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี ปัจจุบัน สถานที่แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย




- หลังจากตรัสรู้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงออกประกาศพระธรรมวินัยพระธรรมวินัยและโปรดเวไนยสัตว์เป็นเวลา 45 ปี เมื่อพระชนมายุได้ 80 พรรษา ก็ เสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมืองกุสีนคระ แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย)



เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญทั้ง 3 เหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้น เกิดขึ้นตรงกันในวันเพ็ญ เดือน 6 ชาวพุทธจึงเรียกการบูชาในวันนี้ว่า "วันวิสาขบูชา" ซึ่งแปลว่า การบูชาในวันเพ็ญเดือนหก (บางแห่งเรียกว่า วันพระพุทธเจ้า หรือ พุทธชยันตี)





กิจกรรม ที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติในวันวิสาขบูชา

ชาวพุทธในมาเลเซีย ถือดอกบัวสักการะเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาในวันวิสาขบูชา



ในวันวิสาขบูชานี้ ถือเป็นวันสำคัญยิ่งที่ชาวพุทธทั่วโลกจะมารวมกันจัดพิธีทำบุญใหญ่หรือจัด กิจกรรมต่าง ๆ เพื่อบำเพ็ญกุศลระลึกถึงพระพุทธเจ้า ซึ่งในฐานะที่วันวิสาขบูชาได้รับการยกย่องให้เป็นวันสำคัญสากลของโลก เมื่อถึงวันวิสาขบูชา องค์การสหประชาชาติจะมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อรำลึกถึงพระพุทธเจ้าด้วย เช่น สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ มหานครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา จะมีการอัญเชิญพระเจดีย์วิสาขบูชานุสรณ์ สกลโลกประกาศบูชาวันวิสาขะ (ภายในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ) ซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติเป็นการถาวร มาประดิษฐานให้ประชาชนสักการะบูชา เป็นต้น


สำหรับในประเทศไทย นอกจากพุทธศาสนิกชนจะเข้าวัดบำเพ็ญบุญกุศลถือศีลฟังธรรมแล้ว ยังนิยมปล่อยนกปล่อยปลา และเวียนเทียนรอบพระอุโบสถในตอนค่ำเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาด้วย

วันวิสาขบูชา พุทธศาสนิกชนชาวไทยนิยมทำบุญตักบาตรในตอนเช้า และตลอดวันจะมีการบำเพ็ญบุญกุศลความดีอื่น ๆ เช่น ตั้งใจรักษาศีล 5 ศีล 8 งดเว้นการทำบาปทั้งปวง ทำบุญถวายสังฆทาน ให้อิสระทาน (ปล่อยนกปล่อยปลา) ฟังพระธรรมเทศนา และไปเวียนเทียนรอบโบสถ์ในเวลาเย็น

โดยก่อนทำการเวียนเทียนพุทธศาสนิกชนควรร่วมกันกล่าวคำสวดมนต์และคำบูชาใน วันวิสาขบูชา โดยปกติตามวัดต่าง ๆ จะจัดให้มีการทำวัตรสวดมนต์ก่อนทำการเวียนเทียน ซึ่งส่วนใหญ่นิยมทำการเวียนเทียนอย่างเป็นทางการ (โดยมีพระภิกษุสงฆ์นำเวียนเทียน) ในเวลาประมาณ 20 นาฬิกา โดยบทสวดมนต์ที่พระสงฆ์นิยมสวดในวันวิสาขบูชาก่อนทำการเวียนเทียนนิยมสวด (ทั้งบาลีและคำแปล) ตามลำดับดังนี้

1. บทบูชาพระรัตนตรัย (บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย:อรหัง สัมมา ฯลฯ)

2. บทนมัสการนอบน้อมบูชาพระพุทธเจ้า (นะโม ฯลฯ ๓ จบ)

3. บทสรรเสริญพระพุทธคุณ (บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย:อิติปิโส ฯลฯ)

4. บทสรรเสริญพระพุทธคุณ สวดทำนองสรภัญญะ (บทสวดสรภัญญะที่ขึ้นต้นด้วย:องค์ใดพระสัมพุทธ ฯลฯ)

5. บทสรรเสริญพระธรรมคุณ (บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย:สวากขาโต ฯลฯ)

6. บทสรรเสริญพระธรรมคุณ สวดทำนองสรภัญญะ (บทสวดสรภัญญะที่ขึ้นต้นด้วย:ธรรมมะคือ คุณากร ฯลฯ)

7. บทสรรเสริญพระสังฆคุณ (บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย:สุปฏิปันโน ฯลฯ)

8. บทสรรเสริญพระสังฆคุณ สวดทำนองสรภัญญะ (บทสวดสรภัญญะที่ขึ้นต้นด้วย:สงฆ์ ใดสาวกศาสดา ฯลฯ)

9. บทสวดบูชาเนื่องในวันวิสาขบูชา (บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย:ยะมัมหะ โข ฯลฯ)

จากนั้นจุดธูปเทียนและถือดอกไม้เป็นเครื่องสักการะบูชาในมือ แล้วเดินเวียนรอบปูชนียสถาน 3 รอบ โดยขณะที่เดินนั้นพึงตั้งจิตให้สงบ พร้อมสวดระลึกถึงพระพุทธคุณคุณ ด้วยการสวดบทอิติ ปิโส (รอบที่หนึ่ง) ระลึกถึงพระธรรมคุณ ด้วยการสวดสวากขา โต (รอบที่สอง) และระลึกถึงพระสังฆคุณ ด้วยการสวดสุปะฏิปันโน (รอบที่สาม) จนกว่าจะเวียนจบ 3 รอบ จากนั้นนำธูปเทียนดอกไม้ไปบูชาตามปูชนียสถานจึงเป็นอันเสร็จพิธี

วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ประวัติการปกครองสมัยอยุธยา


http://farm1.static.flickr.com/38/81450211_77015766df.jpg

การปกครองสมัยอยุธยา




อาณาจักรสุโขทัยเสื่อมอำนาจลงนั้น พระเจ้าอู่ทองผู้นำคนไทยที่อยู่บริเวณตอนล่างของแม่น้ำเจ้าพระยา พระองค์ไดรวบรวมผู้คนก่อตั้งราชธานีขึ้นที่บริเวณหนองโสน หรือบึงพระราม ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา



การปกครองในสมัยอยุธยา
ภายหลังจากที่พระเจ้าอู่ทอง (พระรามาธิบดีที่ 1) สถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีแล้ว ระหว่างปี พ.ศ. 1893 จนถึง พ.ศ.2310 เป็นเวลา 417 ปี มีพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น 34 พระองค์ มี 5 ราชวงศ์คือ
1. ราชวงศ์อู่ทอง (พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 1952)
2. ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (พ.ศ. 1952 ถึง พ.ศ. 2112)
3. ราชวงศ์สุโขทัย (พ.ศ. 2112 ถึง พ.ศ. 2172)
4. ราชวงศ์ปราสาททอง (พ.ศ. 2172 ถึง พ.ศ. 2231)
5. ราชวงศ์บ้านพลูหลวง (พ.ศ. 2231 ถึง พ.ศ. 2310)
รูปแบบการปกครองในสมัยพระเจ้าอู่ทอง ถึง พระเจ้าสามพระยา
1. การปกครองส่วนกลาง (ภายในราชธานี) เป็นแบบจตุสดมภ์ คือ เวียง วัง คลัง นา
2. การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ เมืองหน้าด่าน หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก หัวเมืองประเทศราช



การปกครองสมัยพระบรมไตรโลกนาถ
1. การปกครองส่วนกลาง แบ่งออกเป็น สมุหกลาโหม และสมุหนายก
2. การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งออกเป็น หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก เมืองประเทศราช
ลักษณะสังคมสมัยอยุธยา
1. พระมหากษัตริย์ ทรงดำรงตำแหน่งสูงสุดในสังคม ทรงมีพระราชอำนาจเด็ดขาด
2. เจ้านาย เป็นชนชั้นสูงถัดจากพระมหากษัตริย์ลงมา
3. ขุนนางหรือข้าราชการ จะมีศักดินาตามตำแหน่ง และความรับผิดชอบของตน ลดหลั่นลงไป
4. ไพร่ คือประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ตามกฎหมายนั้นชายฉกรรจ์ทุกคน ที่อยู่ในฐานะไพร่ จะต้องไปขึ้นทะเบียนสังกัดมูลนาย
5. พระสงฆ์ มีความสำคัญต่อสังคมมาก พระสงฆ์ยังเป็นตัวกลางเชื่อมโยงชนชั้นปกครองกับชนชั้นใต้การปกครองให้เข้ากันได้โดยอาศัยวัดเป็นศูนย์กลาง
6. ทาส เป็นบุคคลระดับต่ำในสังคมอยุธยา ไม่มีอิสระตกเป็นสมบัติของนายเงิน
สภาพทางเศรษฐกิจสมัยอยุธยา
เศรษฐกิจสมัยอยุธยาขึ้นอยู่กับการเกษตรกรรม คือ การทำนา และพืชผลอื่น ๆ



รายได้ของแผ่นดิน
1. จังกอบ คือ ภาษีผ่านด่านทั้งทางบก และทางน้ำ
2. อากร คือ การเก็บผลประโยชน์จากการประกอบอาชีพของราษฎร
3. ฤชา คือ ค่าธรรมเนียม ซึ่งเรียกเก็บจากราษฎร ที่มาใช้บริการของรัฐ เช่น ค่าธรรมเนียมในการออกโฉนดตราสาร หรือค่าปรับที่เรียกเก็บจากฝ่ายแพ้คดีความ
4. ส่วย คือ สิ่งของหรือเงินทดแทนแรงงานจากไพร่ที่ไม่ได้มาเข้าเวรรับราชการ
5. การค้ากับต่างประเทศ นอกจากการเก็บภาษีอากรภายในประเทศแล้ว กรมพระคลังยังมีรายได้จากการเก็บภาษีการค้ากับต่างประเทศอีก ได้แก่
- ภาษีสินค้าขาเข้า
- ภาษีสินค้าขาออก
- กำไรที่ได้จากการผูกขาดสินค้าของกรมพระคลังสินค้า
- การแต่งเรือสำเภาหลวงไปค้าขาย



ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรอยุธยากับต่างประเทศ
พม่า : ส่วนใหญ่เป็นการทำสงครามกัน ส่วนมากลักษณะของสงครามคือ พม่าเป็นฝ่ายยกทัพเข้ามารุกรานไทย และไทยเป็นฝ่ายตั้งรับ

ล้านนา : ส่วนใหญ่เป็นการทำสงครามกันโดยไทยต้องการขยายอาณาเขตไทยเคยรวบรวม อาณาจักรล้านนา มาไว้ในอาณาจักรหลายครั้ง แต่ในบางครั้งล้านนาก็ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า กัมพูชา ส่วนใหญ่เป็นการทำสงครามระหว่างกัน เพราะไทยมีนโยบายครอบครอง

กัมพูชา : กัมพูชาพยายามตั้งตัวเป็นอิสระ ไทยจึงต้องยกกองทัพไปปราบปรามอยู่บ่อยครั้ง

ลาว : ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับลาว เป็นไปในลักษณะของ "บ้านพี่เมืองน้อง" จุดมุ่งหมายที่ไทยกับลาวมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันคือ เพื่อต่อต้านอำนาจของพม่า

ญวน : ไทยกับญวนมักจะมีเรื่องขัดแย้งกัน เพราะต่างมีอำนาจเท่าเทียมกัน และมักจะขยายอำนาจเข้ามาในดินแดนลาวกับกัมพูชา

มลายู : ไทยได้ขยายอำนาจไปยังเมืองมลายู หลังจากได้เมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นหัวเมืองมลายู ส่วนที่ตกเป็นเมืองขึ้นของไทย ได้แก่ ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู การปกครองหัวเมืองมลายูไทย ให้เจ้านายพื้นเมืองปกครอง ความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตก

โปรตุเกส : โปรตุเกสเป็นชาติตะวันตกชาติแรก ที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับอยุธยา และทำสัญญาการค้าอย่างเป็นทางการ ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ชาวโปรตุเกส เคยอาสาสมัครเข้าช่วยรบในกองทัพไทย ส่วนทางด้านศิลปะวิทยาการต่าง ๆ ไทยยังได้เรียนรู้ศิลปะ และวิทยาการที่ชาวโปรตุเกสนำมาเผยแพร่เช่น การทำปืนไฟ การสร้างป้อมปราการ การฝึกทหารแบบตะวันตก การทำขนมฝรั่ง ฝอยทอง

สเปน : ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับสเปน เริ่มขึ้นตอนปลายรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยมีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อส่งเสริมการค้าระหว่าง กรุงศรีอยุธยา กับฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของสเปน
ฮอลันดา : ฮอลันดา ติดต่อกับประเทศทางตะวันออกก็เพื่อผลประโยชน์ทางการค้าเป็นหลัก ไทยกับฮอลันดามีการทำสัญญาการค้าฉบับแรก ในสมัยพระเจ้าทรงธรรม ความสัมพันธ์ ระหว่างไทยกับฮอลันดาไม่ค่อยราบรื่นนักในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เพราะฮอลันดาพยายามเรียกร้องผลประโยชน์ทางการค้าจากไทยมากเกินไป ความขัดแย้งกับฮอลันดาเป็นเหตุให้ไทยเริ่มผูกมิตรกับฝรั่งเศสแน่นแฟ้นขึ้นเพื่อถ่วงดุลกับฮอลันดา

อังกฤษ : อังกฤษเข้ามาในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เพื่อเปิดสัมพันธ์ด้านการค้า และพยายามเรียกร้องสิทธิพิเศษทางการค้าต่าง ๆ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะถูกฮอลันดา คอยขัดขวางจึงได้ยกเลิกสถานีการค้าในเวลาต่อมา ในสมัยพระนารายณ์มหาราชไทยได้ ทำสงครามกับอังกฤษที่มะริดเพราะอังกฤษเรียกร้องให้ไทยรับผิดชอบเรือสินค้าอังกฤษ ถูกโจรสลัดปล้นแต่ไทยปฏิเสธการรับผิดชอบ ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอังกฤษ จึงเสื่อมลง

ฝรั่งเศส : ฝรั่งเศส เป็นชาวตะวันตกชาติหลังสุดที่เข้ามาติดต่อกับอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ฝรั่งเศสมุ่งเผยแผ่คริสต์ศาสนา และฝ่ายไทยก็หวังให้ฝรั่งเศสเป็นตัวถ่วงดุลอำนาจกับฮอลันดาฝรั่งเศสได้ตั้งสถานีการค้าในอยุธยา ต่อมาฝรั่งเศสได้เปลี่ยนนโยบายเป็นการแสดงหาผลประโยชน์ทางการค้า และการเมืองควบคู่กัน ทำให้เกิดความขัดแย้งจนกลายเป็นการจลาจลระหว่างคนไทยกับกองทหารฝรั่งเศสต่อ

แบบทดสอบหลังเรียน

http://quickr.me/5TkE3Sy

วันอังคารที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การปกครองสมัยสุโขทัย

AnimationการปกครองสมัยสุโขทัยAnimation


อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งเป็นอาณาจักรเล็กๆสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดคือสมัยพ่อขุนรามคำแหง มหาราช มีอาณาเขตทิศเหนือจรดเมืองลำพูน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดเทือกเขาดงพญาเย็น และภูเขาพนมดงรัก ทิศตะวันตกจรดเมืองหงศาวดี ทางใต้จรดแหลมมลายู มีกษัตริย์ปกครองเป็นเอกราชติดต่อกันมา 6 พระองค์ อาณาจักรสุโขทัยเสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมัยพญาไสลือไท โดยทำสงครามปราชัย แก่ พระบรมราชาที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยาในปีพ.ศ.1921 และราชวงศ์พระร่วง
ยังคงปกครองในฐานะประเทศราชติตต่อกันมาอีก 2 พระองค์ จนสิ้นราชวงศ์ พ.ศ.1981



ลักษณะการปกครองสมัยสุโขทัย

แบ่งเป็น 2 แบบ ดังนี้
1.แบบพ่อปกครองลูก (ปิตุลาธิปไตย)

สุโขทัยมีลักษณะการปกครองแบบพ่อปกครองลูก ผู้ปกครองคือ พ่อขุน ซึ่งเปรียบเสมือนพ่อที่จะต้องดูแลคุ้มครองลูก ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ทรงโปรดให้สร้างกระดิ่งแขวนไว้ที่หน้าประตูพระราชวัง เมื่อประชาชนมีเรื่องเดือดร้อนก็ให้ไปสั่นกระดิ่งร้องเรียน พระองค์ก็จะเสด็จมารับเรื่องราวร้องทุกข์ และโปรดให้สร้างพระแทนมนังคศิลาอาสน์ได้กลางดงตาล ในวันพระจะนิมนต์พระสงฆ์มาเทศน์สั่งสอนประชาชน หากเป็นวันธรรมดาพระองค์จะเสด็จออกให้ประชาชนเข้าเฝ้าและตัดสินคดีความด้วย พระองค์เอง การปกครองแบบพ่อปกครองลูก(ปิตุลาธิปไตย)ใช้ใน สมัยกรุงสุโขทัยตอนต้น

2.แบบธรรมราชา

การปกครองแบบธรรมราชา หมายถึง พระราชาผู้ปฏิบัติธรรมหรือ กษัตริย์ผู้มีธรรม ในสมัยของพระมหาธรรมราชาที่๑ มีกำลังทหารที่ไม่เข้มแข็ง ประกอบกับอาณาจักรอยุธยาที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ได้แผ่อิทธิพลมากขึ้น พระองค์ทรง เกรงภัยอันตรายจะบังเกิดแก่อาณาจักรสุโขทัย หากใช้กำลังทหารเพียงอย่าง เดียว พระองค์จึงทรงนำหลักธรรมมาใช้ในการปกครอง โดยพระองค์ทรงเป็น แบบอย่างในด้านการปฏิบัติธรรม ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา นอกจากนั้นพระ มหาธรรมราชาที่ ๑ ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมเรื่อง ไตรภูมิพระร่วง ที่ปรากฏแนวคิดแบบธรรมราชาไว้ด้วย การปกครองแบบธรรมราชา ใช้ในสมัยกรุงสุโขทัยตอนปลาย ตั้งแต่พระมหาธรรมราชาที่ ๑ - ๔

ด้านการปกครองส่วนย่อยสามารถแยกกล่าวเป็น 2 แนว ดังนี้

ในแนวราบ

จัดการปกครองแบบพ่อปกครองลูก กล่าวคือผู้ปกครองจะมีความใกล้ชิดกับประชาชน ให้ความเป็นกันเองและความยุติธรรมกับ ประชาชนเป็นอย่างมาก เมื่อประชาชนเกิดความเดือดร้อนไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องเรียนกับพ่อขุนโดยตรงได้ โดยไปสั่นกระดิ่งที่แขวนไว้ที่หน้าประตูที่ประทับ ดังข้อความในศิลาจารึกปรากฏว่า "…ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งไว้ให้ ไพร่ฟ้าหน้าใส…" นั่นคือเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถมาสั่นกระดิ่งเพื่อแจ้งข้อร้องเรียนได้

ในแนวดิ่ง

ได้มีการจัดระบบการปกครองขึ้นเป็น 4 ชนชั้น คือ

  • พ่อขุน เป็นชนชั้นผู้ปกครอง อาจเรียกชื่ออย่างอื่น เช่น เจ้าเมือง พระมหาธรรมราชา หากมีโอรสก็จะเรียก "ลูกเจ้า"
  • ลูกขุนเป็นข้าราชบริพาร ข้าราชการที่มีตำแหน่งหน้าที่ช่วงปกครองเมืองหลวง หัวเมืองใหญ่น้อย และภายในราชสำนัก เป็นกลุ่มคนที่ใกล้ชิดและได้รับการไว้วางใจจากเจ้าเมืองให้ปฏิบัติหน้าที่ บำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ไพร่ฟ้า
  • ไพร่หรือสามัญชน ได้แก่ราษฎรทั่วไปที่อยู่ในราชอาณาจักร (ไพร่ฟ้า)
  • ทาสได้แก่ชนชั้นที่ไม่มีอิสระในการดำรงชีวิตอย่างสามัญชนหรือไพร่ (อย่างไรก็ตามประเด็นทาสนี้ยังคงถกเถียงกันอยู่ว่ามีหรือไม่)

ที่ตั้งและอาณาเขต

อาณาจักรสุโขทัย ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าผ่านคาบสมุทรระหว่างอ่าวมะตะมะ และที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง มีอาณาเขตดังนี้

  1. ทิศเหนือ มีเมืองแพร่ (ปัจจุบันคือจังหวัดแพร่) เป็นเมืองปลายแดนด้านเหนือสุด
  2. ทิศใต้ มีเมืองพระบาง (ปัจจุบันคือจังหวัดนครสวรรค์) เป็นเมืองปลายแดนด้านใต้
  3. ทิศตะวันตก มีเมืองฉอด (ปัจจุบันอยู่ในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก) เป็นเมืองชายแดนที่จะติดต่อเข้าไปยังอาณาจักรมอญ
  4. ทิศตะวันออก ถึงเมืองสะค้าใกล้แม่น้ำ โขงในเขตภาคอีสานตอนเหนือ