วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ประวัติการปกครองสมัยอยุธยา


http://farm1.static.flickr.com/38/81450211_77015766df.jpg

การปกครองสมัยอยุธยา




อาณาจักรสุโขทัยเสื่อมอำนาจลงนั้น พระเจ้าอู่ทองผู้นำคนไทยที่อยู่บริเวณตอนล่างของแม่น้ำเจ้าพระยา พระองค์ไดรวบรวมผู้คนก่อตั้งราชธานีขึ้นที่บริเวณหนองโสน หรือบึงพระราม ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา



การปกครองในสมัยอยุธยา
ภายหลังจากที่พระเจ้าอู่ทอง (พระรามาธิบดีที่ 1) สถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีแล้ว ระหว่างปี พ.ศ. 1893 จนถึง พ.ศ.2310 เป็นเวลา 417 ปี มีพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น 34 พระองค์ มี 5 ราชวงศ์คือ
1. ราชวงศ์อู่ทอง (พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 1952)
2. ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (พ.ศ. 1952 ถึง พ.ศ. 2112)
3. ราชวงศ์สุโขทัย (พ.ศ. 2112 ถึง พ.ศ. 2172)
4. ราชวงศ์ปราสาททอง (พ.ศ. 2172 ถึง พ.ศ. 2231)
5. ราชวงศ์บ้านพลูหลวง (พ.ศ. 2231 ถึง พ.ศ. 2310)
รูปแบบการปกครองในสมัยพระเจ้าอู่ทอง ถึง พระเจ้าสามพระยา
1. การปกครองส่วนกลาง (ภายในราชธานี) เป็นแบบจตุสดมภ์ คือ เวียง วัง คลัง นา
2. การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ เมืองหน้าด่าน หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก หัวเมืองประเทศราช



การปกครองสมัยพระบรมไตรโลกนาถ
1. การปกครองส่วนกลาง แบ่งออกเป็น สมุหกลาโหม และสมุหนายก
2. การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งออกเป็น หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก เมืองประเทศราช
ลักษณะสังคมสมัยอยุธยา
1. พระมหากษัตริย์ ทรงดำรงตำแหน่งสูงสุดในสังคม ทรงมีพระราชอำนาจเด็ดขาด
2. เจ้านาย เป็นชนชั้นสูงถัดจากพระมหากษัตริย์ลงมา
3. ขุนนางหรือข้าราชการ จะมีศักดินาตามตำแหน่ง และความรับผิดชอบของตน ลดหลั่นลงไป
4. ไพร่ คือประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ตามกฎหมายนั้นชายฉกรรจ์ทุกคน ที่อยู่ในฐานะไพร่ จะต้องไปขึ้นทะเบียนสังกัดมูลนาย
5. พระสงฆ์ มีความสำคัญต่อสังคมมาก พระสงฆ์ยังเป็นตัวกลางเชื่อมโยงชนชั้นปกครองกับชนชั้นใต้การปกครองให้เข้ากันได้โดยอาศัยวัดเป็นศูนย์กลาง
6. ทาส เป็นบุคคลระดับต่ำในสังคมอยุธยา ไม่มีอิสระตกเป็นสมบัติของนายเงิน
สภาพทางเศรษฐกิจสมัยอยุธยา
เศรษฐกิจสมัยอยุธยาขึ้นอยู่กับการเกษตรกรรม คือ การทำนา และพืชผลอื่น ๆ



รายได้ของแผ่นดิน
1. จังกอบ คือ ภาษีผ่านด่านทั้งทางบก และทางน้ำ
2. อากร คือ การเก็บผลประโยชน์จากการประกอบอาชีพของราษฎร
3. ฤชา คือ ค่าธรรมเนียม ซึ่งเรียกเก็บจากราษฎร ที่มาใช้บริการของรัฐ เช่น ค่าธรรมเนียมในการออกโฉนดตราสาร หรือค่าปรับที่เรียกเก็บจากฝ่ายแพ้คดีความ
4. ส่วย คือ สิ่งของหรือเงินทดแทนแรงงานจากไพร่ที่ไม่ได้มาเข้าเวรรับราชการ
5. การค้ากับต่างประเทศ นอกจากการเก็บภาษีอากรภายในประเทศแล้ว กรมพระคลังยังมีรายได้จากการเก็บภาษีการค้ากับต่างประเทศอีก ได้แก่
- ภาษีสินค้าขาเข้า
- ภาษีสินค้าขาออก
- กำไรที่ได้จากการผูกขาดสินค้าของกรมพระคลังสินค้า
- การแต่งเรือสำเภาหลวงไปค้าขาย



ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรอยุธยากับต่างประเทศ
พม่า : ส่วนใหญ่เป็นการทำสงครามกัน ส่วนมากลักษณะของสงครามคือ พม่าเป็นฝ่ายยกทัพเข้ามารุกรานไทย และไทยเป็นฝ่ายตั้งรับ

ล้านนา : ส่วนใหญ่เป็นการทำสงครามกันโดยไทยต้องการขยายอาณาเขตไทยเคยรวบรวม อาณาจักรล้านนา มาไว้ในอาณาจักรหลายครั้ง แต่ในบางครั้งล้านนาก็ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า กัมพูชา ส่วนใหญ่เป็นการทำสงครามระหว่างกัน เพราะไทยมีนโยบายครอบครอง

กัมพูชา : กัมพูชาพยายามตั้งตัวเป็นอิสระ ไทยจึงต้องยกกองทัพไปปราบปรามอยู่บ่อยครั้ง

ลาว : ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับลาว เป็นไปในลักษณะของ "บ้านพี่เมืองน้อง" จุดมุ่งหมายที่ไทยกับลาวมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันคือ เพื่อต่อต้านอำนาจของพม่า

ญวน : ไทยกับญวนมักจะมีเรื่องขัดแย้งกัน เพราะต่างมีอำนาจเท่าเทียมกัน และมักจะขยายอำนาจเข้ามาในดินแดนลาวกับกัมพูชา

มลายู : ไทยได้ขยายอำนาจไปยังเมืองมลายู หลังจากได้เมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นหัวเมืองมลายู ส่วนที่ตกเป็นเมืองขึ้นของไทย ได้แก่ ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู การปกครองหัวเมืองมลายูไทย ให้เจ้านายพื้นเมืองปกครอง ความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตก

โปรตุเกส : โปรตุเกสเป็นชาติตะวันตกชาติแรก ที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับอยุธยา และทำสัญญาการค้าอย่างเป็นทางการ ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ชาวโปรตุเกส เคยอาสาสมัครเข้าช่วยรบในกองทัพไทย ส่วนทางด้านศิลปะวิทยาการต่าง ๆ ไทยยังได้เรียนรู้ศิลปะ และวิทยาการที่ชาวโปรตุเกสนำมาเผยแพร่เช่น การทำปืนไฟ การสร้างป้อมปราการ การฝึกทหารแบบตะวันตก การทำขนมฝรั่ง ฝอยทอง

สเปน : ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับสเปน เริ่มขึ้นตอนปลายรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยมีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อส่งเสริมการค้าระหว่าง กรุงศรีอยุธยา กับฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของสเปน
ฮอลันดา : ฮอลันดา ติดต่อกับประเทศทางตะวันออกก็เพื่อผลประโยชน์ทางการค้าเป็นหลัก ไทยกับฮอลันดามีการทำสัญญาการค้าฉบับแรก ในสมัยพระเจ้าทรงธรรม ความสัมพันธ์ ระหว่างไทยกับฮอลันดาไม่ค่อยราบรื่นนักในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เพราะฮอลันดาพยายามเรียกร้องผลประโยชน์ทางการค้าจากไทยมากเกินไป ความขัดแย้งกับฮอลันดาเป็นเหตุให้ไทยเริ่มผูกมิตรกับฝรั่งเศสแน่นแฟ้นขึ้นเพื่อถ่วงดุลกับฮอลันดา

อังกฤษ : อังกฤษเข้ามาในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เพื่อเปิดสัมพันธ์ด้านการค้า และพยายามเรียกร้องสิทธิพิเศษทางการค้าต่าง ๆ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะถูกฮอลันดา คอยขัดขวางจึงได้ยกเลิกสถานีการค้าในเวลาต่อมา ในสมัยพระนารายณ์มหาราชไทยได้ ทำสงครามกับอังกฤษที่มะริดเพราะอังกฤษเรียกร้องให้ไทยรับผิดชอบเรือสินค้าอังกฤษ ถูกโจรสลัดปล้นแต่ไทยปฏิเสธการรับผิดชอบ ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอังกฤษ จึงเสื่อมลง

ฝรั่งเศส : ฝรั่งเศส เป็นชาวตะวันตกชาติหลังสุดที่เข้ามาติดต่อกับอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ฝรั่งเศสมุ่งเผยแผ่คริสต์ศาสนา และฝ่ายไทยก็หวังให้ฝรั่งเศสเป็นตัวถ่วงดุลอำนาจกับฮอลันดาฝรั่งเศสได้ตั้งสถานีการค้าในอยุธยา ต่อมาฝรั่งเศสได้เปลี่ยนนโยบายเป็นการแสดงหาผลประโยชน์ทางการค้า และการเมืองควบคู่กัน ทำให้เกิดความขัดแย้งจนกลายเป็นการจลาจลระหว่างคนไทยกับกองทหารฝรั่งเศสต่อ

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ10/6/53 19:13

    ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆครับ ผมกำลังเรียนเรื่องนี้พอดีเลยครับ

    ตอบลบ