วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

แบบทดสอบหลังเรียน เรื่องการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทย
          ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ แบ่งการบริหารราชการออกเป็น ๓ ส่วน คือ
         ๑. การบริหารราชการส่วนกลาง ใช้หลักการรวมอำนาจ คือให้อำนาจการบังคับบัญชาและการวินิจฉัยสั่งการขั้นสูงสุดอยู่ในส่วนกลาง โดยแบ่งหน่วยงานออกเป็น กระทรวง ทบวง กรม [รวมทั้งหน่วยงานที่มีชื่อเรียกอย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรม เช่น สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท (รพช.) สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) ราชบัณฑิตยสถาน ฯลฯ] หน่วยงานเหล่านี้ปรกติจะตั้งอยู่ในส่วนกลาง คือกรุงเทพมหานครอันเป็นเมืองหลวงและศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล
          ปัจจุบันการบริหารราชการส่วนกลาง มีดังนี้
  
ระดับกระทรวง มี ๑๔ กระทรวง (รวมสำนักนายกรัฐมนตรี)
  
ระดับทบวง  มี ๑ ทบวง
  
ระดับกรม  มี ๑๓๖ กรม (ไม่รวมกรมต่าง ๆ ในกระทรวงกลาโหม และมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่มีฐานะเทียบเท่ากรม)
          ๒. การบริหารราชการส่วนภูมิภาค ใช้หลักการแบ่งอำนาจ คือราชการส่วนกลางเป็นเจ้าของอำนาจ แล้วแบ่งอำนาจการบังคับบัญชาและการวินิจฉัยสั่งการให้แก่ภูมิภาคนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน เป็นการลดขั้นตอนต่าง ๆ ลง และการปฏิบัติของภูมิภาคนั้นจะต้องให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้จะต้องไม่ขัดต่อนโยบายของส่วนกลางหรือของรัฐบาลหรือตัวบทกฎหมายของประเทศ
          อนึ่ง อำนาจที่แบ่งให้นั้นจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความพอใจของส่วนกลาง และส่วนกลางแต่ละหน่วยก็แบ่งให้อาจไม่เท่ากัน เช่น บางกรมแบ่งการบริหารงานบุคคลให้ส่วนภูมิภาคแต่งตั้งโยกย้ายได้ตั้งแต่ระดับ ๔ ลงมา บางกรมให้ตั้งแต่ระดับ ๖ ลงมา บางกรมให้ตั้งแต่ระดับ ๗ ลงมา
          อำนาจที่แบ่งให้ไปนั้น ราชการบริหารส่วนกลางอาจจะเรียกกลับคืนเมื่อใดก็ได้
         
การบริหารราชการส่วนภูมิภาค มี ๕ ระดับ คือ
          ๑. จังหวัด
         
๒. อำเภอ
         
๓. กิ่งอำเภอ
         
๔. ตำบล
         
๕. หมู่บ้าน
          กิ่งอำเภอ ตำบล และหมู่บ้านเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาคโดยอนุโลม ทั้งนี้ก็เพราะในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินได้กำหนดการบริหารส่วนภูมิภาคไว้เพียง ๒ ระดับ คือจังหวัดและอำเภอ แล้วได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๖๘ อีกว่า "การปกครองอำเภอ นอกจากที่ได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการปกครองท้องที่"
          กฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ในปัจจุบันจัดการบริหารราชการแผ่นดินในระดับรองลงมาจากอำเภอ ได้แก่ กิ่งอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน จึงจัดเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาคด้วย
          จังหวัด    มี    ๗๕      จังหวัด
         
อำเภอ      มี    ๗๒๙     อำเภอ
         
กิ่งอำเภอ  มี    ๘๑        กิ่งอำเภอ
         
ตำบล       มี    ,๑๕๙  ตำบล
         
หมู่บ้าน    มี   ๖๕,๑๗๐ หมู่บ้าน
          (
ข้อมูลประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๗)
          ๓. การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ใช้หลักการกระจายอำนาจ คือส่วนกลางได้โอนมอบอำนาจระดับหนึ่งไปให้ประชาชนในท้องถิ่นไปดำเนินการปกครองตนเองอย่างอิสระ แต่ทั้งนี้จะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายของประเทศหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน กิจกรรมที่ท้องถิ่นทำได้ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องการพัฒนา และที่ว่า "ปกครองตนเองอย่างอิสระ" นั้น หมายถึงมีอิสระในการตัดสินใจต่าง ๆ ในการแก้ปัญหาหรือการเสริมสร้างสนับสนุนกิจกรรมของท้องถิ่น เช่น ออกข้อบังคับหรือระเบียบต่าง ๆ มาบังคับประชาชนในเขตการปกครองของตนได้ โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย
          การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในปัจจุบันมีรูปแบบดังนี้
         
๑. องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อย่าสับสนกับจังหวัด)
         
๒. เทศบาล
         
๓. สุขาภิบาล
         
๔. ราชการบริหารส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งได้แก่
                    ๔.๑ กรุงเทพมหานคร ซึ่งกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร บัญญัติไว้ในมาตรา ๖ ว่า "ให้กรุงเทพมหานครเป็นนิติบุคคล และเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น...ดังนั้นกรุงเทพฯ จึงไม่ใช้ "จังหวัด" ในความหมายของการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
                    ๔.๒ เมืองพัทยา ซึ่งกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารเมืองพัทยา บัญญัติไว้ในมาตรา ๗ ว่า "...ให้เมืองพัทยาเป็นนิติบุคคล และเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น..." ดังนั้นเมืองพัทยาจึงมิใช่เทศบาล มิใช่สุขาภิบาล แต่เป็นราชการส่วนท้องถิ่นตามที่กฎหมายกำหนด
                    ๔.๓ องค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกมาบังคับใช้ใหม่) ได้กำหนดให้สภาตำบลที่มีรายได้ไม่ต่ำกว่าปีละ ๑๕๐,๐๐๐ บาท โดยไม่รวมเงินอุดหนุนจากส่วนกลาง ติดต่อกัน ๓ ปี ให้ยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล และให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
          ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบล จึงเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ตามที่กฎหมายสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลกำหนด อย่างสับสนกับ "ตำบล" ที่เป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค
          ราชการบริหารส่วนท้องถิ่นในปัจจุบันที่เป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัดมี ๗๕ เทศบาล ๑๓๘ สุขาภิบาล ๑,๐๗๕ กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา อย่างละ ๑ แห่ง องค์การบริหารส่วนตำบลยังไม่จัดตั้ง
ผู้เขียน : นายวิรัช  ถิรพันธุ์เมธี หัวหน้าภาควิชางานในหน้าที่ของปกครอง วิทยาลัยการปกครอง กรมการปกครอง และกรรมการทำอักขรานุกรมภูมิศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน
ที่มา : จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน  ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๔๒, พฤศจิกายน ๒๕๓๗

ศาลยุติธรรมไทย

ศาลยุติธรรม
          ศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น
          ศาลยุติธรรมมี 3 ชั้น ได้แก่
          1. ศาลชั้นต้น คือ ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีในชั้นต้น เช่น ศาลแขวง ศาลจังหวัด ศาลอาญา ศาลแพ่ง
          2. ศาลอุทธรณ์ คือ ศาลสูงถัดจากศาลชั้นต้น มีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์ คำพิพากษาของศาลชั้นต้น
          3. ศาลฎีกา คือ ศาลสูงสุด มีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ มีศาลเดียวในกรุงเทพมหานคร คำพิพากษาของศาลฎีกาถือว่าสิ้นสุดจะฟ้องร้องต่อไปอีกไม่ได้ส่วนการที่ผู้ที่ต้องคำพิพากษาให้ได้รับโทษทางอาญา จะทูลเกล้าฯ ถวายเรื่องต่อพระมหากษัตริย์ ได้ (เรียกว่าทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา) เพื่อรับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานอภัยโทษ เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญไม่ใช่การพิพากษาใหม่ และไม่ใช่เป็นการขัดแย้งกับคำพิพากษาของศาลฎีกา
          ศาลชั้นต้น
          ศาลแขวงเป็นศาลชั้นต้นขนาดเล็ก มีอำนาจจำกัด มีองค์คณะผู้พิพากษา 1 คน และมีอำนาจ  ดังนี้
          1. ออกหมายเรียก หมายอาญา หรือหมายสั่งให้ส่งคนมาจากหรือไปยังจังหวัดอื่น
          2. ออกคำสั่งใด ๆ ซึ่งมิใช่เป็นไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี
          3. ไต่สวนและวินิจฉัยชี้ขาดคำร้อง หรือคำขออื่นยื่นต่อศาลในคดีทั้งปวง
          4. ไต่สวนและมีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการเพื่อความปลอดภัย
          5. ไต่สวนมูลฟ้องและมีคำสั่งในคดีอาญา
          6. พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาท หรือจำนวนเงินที่ฟ้อง ไม่เกิน 3 แสนบาท
          7. พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จำคุกไม่เกิน 3 ปีหรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่จะลงโทษจำคุกเกิน 6 เดือน หรือปรับเกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับไม่ได้
          ศาลชั้นต้นอื่น เช่น ศาลจังหวัด ศาลแพ่ง ศาลอาญา มีอำนาจพิจารณาทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาทุกคดีในเขตอำนาจศาลของต้น มีองค์คณะผู้พิพากษา 1 คน มีอำนาจเหมือนศาลแขวง และผู้พิพากษาอย่างน้อย 2 คน มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งปวง
          ศาลชั้นต้นในกรุงเทพมหานคร
          เขตกรุงเทพมหานครมีศาลชั้นต้นประเภทต่าง ๆ ได้แก่ ศาลแขวง ศาลจังหวัดมีนบุรี ศาลแพ่ง ศาลอาญา และศาลชำนัญพิเศษ เช่น ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ศาลแรงงานกลาง ศาลภาษีอากรกลาง ศาลล้มละลายกลาง เป็นต้น
          1. ศาลแขวง เป็นศาลที่พิจารณาคดีอาญาที่มีโทษไม่สูงและคดีทางแพ่งที่มีทุนทรัพย์ไม่มาก ถ้าศาลแขวงเห็นว่าคดีใดคำพิพากษาของตนจะเกินอำนาจของศาลแขวงก็ให้เสนอความเห็นไปยังศาลแพ่ง หรือศาลอาญา หรือศาลจังหวัดมีนบุรี เพื่อพิจารณาแทน ศาลแขวงในกรุงเทพมหานคร มีเพียง 7 แห่ง คือ ศาลแขวงพระนครเหนือ ศาลแขวงพระนครใต้ ศาลแขวงธนบุรี ศาลแขวงตลิ่งชัน ศาลแขวงพระโขนง ศาลแขวงดุสิตและศาลแขวงปทุมวัน
          2. ศาลแพ่ง และศาลอาญา มีเขตรับผิดชอบตลอดท้องที่กรุงเทพมหานคร ยกเว้นท้องที่ที่อยู่ในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญาธนบุรี และศาลจังหวัดมีนบุรี แต่ต้องเป็นความแพ่งหรือความอาญาที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลแขวง
          3. ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ และศาลอาญากรุงเทพใต้ เป็นศาลที่รับฟ้องคดีแพ่ง (ต่อศาลแพ่ง) และคดีอาญา (ต่อศาลอาญา) ซึ่งเป็นคดีที่เกิดขึ้นในท้องที่เขตบางรัก สาทร ปทุมวัน ป้อมปราบศัตรูพ่าย พระโขนง ยานนาวา สัมพันธวงศ์ คลองเตย ประเวศ สวนหลวง วัฒนา บางนา และบางคอแหลม แต่ต้องเป็นความแพ่งหรือความอาญาที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงหรือศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง
          4. ศาลแพ่งธนบุรี และศาลอาญาธนบุรี เป็นศาลที่รับฟ้องคดีทางแพ่ง (ต่อศาลแพ่ง) และคดีอาญา(ต่อศาลอาญา) ซึ่งเป็นคดีที่เกิดขึ้นภายในท้องที่เขตธนบุรี แต่ต้องเป็นความแพ่งหรือความอาญาที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงหรือในศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง
          5. ศาลจังหวัดมีนบุรี เป็นศาลชั้นต้นในพื้นที่เขตมีนบุรี หนองจอก และลาดกระบัง การที่ใช้ชื่อว่า ศาลจังหวัด อาจทำให้สับสนบ้าง เพราะที่จริงแล้วศาลนี้เป็นศาลชั้นต้นที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร เพียงแต่มีอำนาจหน้าที่เหมือนกับศาลจังหวัดเท่านั้น
          6. ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ถ้าที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพ เรียกว่าศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ในต่างจังหวัด เรียกว่า ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด มีอำนาจพิจารณาคดีที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชน ดังต่อไปนี้
               (1) คดีอาญาที่เด็กหรือเยาวชนต้องหาว่า กระทำการอันกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด เด็ก ตามกฎหมาย คือ ผู้ที่อายุตั้งแต่ 7 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 14 ปีบริบูรณ์ ส่วน เยาวชน คือ ผู้ที่มีอายุเกินกว่า 14 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์ 
               (2) คดีที่ผู้เยาว์มีประโยชน์ได้เสีย เช่น การจัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์ การจัดหาผู้ปกครองให้ผู้เยาว์ เป็นต้น
               (3) คดีที่ศาลต้องพิจารณาเกี่ยวกับตัวเด็ก เช่น คดีตามกฎหมายการศึกษาภาคบังคับคดีตามกฎหมายควบคุมเด็กและนักเรียน เป็นต้น
          7. ศาลแรงงานกลาง เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เกี่ยวกับการพิพาทด้านแรงงานซึ่งเกิดเพิ่มขึ้นมากในระยะที่ผ่านมา และหากให้คดีแรงงานไปพิจารณาในศาลปกติก็อาจทำให้ล่าช้าเกินไป การตั้งศาลแรงงานจึงทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว และมีความเป็นธรรมอีกด้วย ทั้งนี้เพราะเป็นศาลที่มีความชำนาญพิเศษในเรื่องแรงงาน ศาลแรงงานกลางมีเขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร ยกเว้นคดีที่เกิดขึ้นในเขตจังหวัดที่มีศาลแรงงานกลางสาขาเปิดทำการ
          8. ศาลภาษีอากรกลาง เป็นศาลชั้นต้นที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี หรือมีคำสั่งในคดีที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับภาษีอากร
          9. ศาลล้มละลาย เป็นศาลชั้นต้นที่เริ่มดำเนินการใน พ.ศ. 2542 ปัจจุบันมีศาลล้มละลายกลางที่ทีพื้นที่รับผิดชอบตลอดเขตกรุงเทพมหานคร แต่ในระยะเริ่มตันนี้คดีที่เกิดนอกกรุงเทพมหานครก็อาจยื่นฟ้องต่อศาลล้มละลายกลางได้ ศาลล้มละลายมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีล้มละลาย ทั้งนี้เพราะคดีล้มละลายมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากคดีแพ่งโดยทั่วไป และมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยส่วนรวมจึงควรได้รับการพิจารณาพิพากษาคดีโดยผู้พิพากษาที่มีความรู้และความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายล้มละลายโดยเฉพาะ ซึ่งจะทำให้เกิดความรวดเร็วและเที่ยงธรรมยิ่งขึ้น
          10. ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา เช่น เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เป็นต้น
          ศาลชั้นต้นในต่างจังหวัด
          ศาลชั้นต้นในต่างจังหวัด หมายถึง ศาลชั้นต้นที่อยู่ในจังหวัดนอกเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกได้ 4 ประเภท คือ ศาลแขวง ศาลจังหวัด ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด และศาลแรงงานจังหวัด
1. ศาลแขวง ในพื้นที่ต่างจังหวัดให้จัดตั้งศาลแขวงขึ้น มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีและทำการไต่สวนโดยผู้พิพากษาคนเดียวในเขตพื้นที่ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวง สาเหตุที่จัดตั้งศาลแขวงขึ้นในต่างจังหวัด ก็เพื่อแบ่งเบาภาระของศาลจังหวัด ปัจจุบันมีศาลแขวงในต่างจังหวัดทั้งหมด 20 แห่ง ใน 20 จังหวัด และในขณะนี้รัฐมีนโยบายที่จะจัดตั้งศาลแขวงขึ้นในทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย
2. ศาลจังหวัด เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญา ภายในเขตจังหวัดยกเว้นในเขตอำนาจของศาลแขวง อาจให้ศาลแขวงพิจารณาพิพากษาได้ นอกจากนี้ อาจพิจารณาพิพากษาคดีความภายในเขตศาลจังหวัดก็ได้ ถ้าอยู่ในเขตอำนาจ เช่น คดีที่โอนมาตามกฎหมายวิธีพิจารณาความหรือคดีที่เกิดในต่างประเทศ เป็นต้น ศาลจังหวัดเป็นศาลชั้นต้นที่ตั้งอยู่ในต่างจังหวัด อาจตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองของจังหวัด หรือตั้งอยู่ที่อำเภออื่นใดก็ได้
3. ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีความเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน แยกออกต่างหากจากศาลแขวงและศาลจังหวัด ขณะนี้รัฐมีนโยบายที่จะจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดให้ครบทุกจังหวัด
4. ศาลแรงงานจังหวัด เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทเรื่องแรงงานในเขตจังหวัด ซึ่งรัฐมีนโยบายจะจัดตั้งศาลแรงงานในจังหวัดที่มีกรณีพิพาททางด้านแรงงานมาก
          ศาลอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาที่อุทธรณ์มาจากศาลชั้นต้น กล่าวคือ ในกรณีที่คู่ความไม่พอใจในคำพิพากษาหรือคำตัดสินของศาลชั้นต้น ก็ให้มีสิทธิอุทธรณ์มายังศาลอุทธรณ์ได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์
          องค์คณะผู้พิพากษา ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย 2 คน
          อำนาจ ศาลอุทธรณ์ มีอำนาจดังนี้
          1. พิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลชั้นต้น ตามบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์ และว่าด้วยเขตอำนาจศาล
          2. พิพากษายืนตาม แก้ไข กลับ หรือยกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ลงโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต
          3. วินิจฉัยชี้ขาดคำร้องขอที่ยื่นต่อศาลอุทธรณ์ตามกฎหมาย
          4. วินิจฉัยชี้ขาดคดีอื่นที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์
          เดิมศาลอุทธรณ์มีอยู่เพียงศาลเดียว อยู่ที่กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันมีการจัดตั้งศาลอุทธรณ์เพิ่มขึ้นอีก 9 ศาล เรียกว่า ศาลอุทธรณ์ภาค ดังนั้น ปัจจุบันศาลอุทธรณ์จึงแบ่งออกเป็นศาลอุทธรณ์กลาง และศาลอุทธรณ์ภาค โดยศาลอุทธรณ์ภาคแบ่งออกเป็นศาลอุทธรณ์ภาค 1 ถึงภาค 9 
          ศาลฎีกา
          ศาลฎีกา เป็นศาลสูงสุดเพียงศาลเดียวเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแล้ว คู่ความที่ยังไม่พอใจคำพิพากษา อาจฎีกายังศาลฎีกาได้อีกเป็นครั้งสุดท้าย คำพิพากษาของศาลฎีกาเป็นอันสิ้นสุดคู่ความไม่สามารถฟ้องร้องต่อไปยังศาลอื่นได้อีก
          องค์คณะผู้พิพากษา ผู้พิพากษาอย่างน้อย 3 คน
          อำนาจ ศาลฎีกามีอำนาจ ดังนี้
          1. พิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำส่งของศาลอุทธรณ์ (หรือศาลชั้นต้นในกรณีที่กฎหมายกำหนดไว้)
          2. มีคำสั่ง หรือพิจารณาพิพากษาคำร้องคำขอ หรือพิจารณาพิพากษาคดีที่กฎหมายอื่นกำหนดให้ศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัยหรือพิจารณาพิพากษา
          นอกจากนี้ตามรัฐธรรมนูญยังกำหนดให้มีศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งการเมือง มีอำนาจพิจารณาพิพากษากรณีที่ที่นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือข้าราชการ การเมืองอื่นถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญาหรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น องค์คณะผู้พิพากษาประกอบด้วยผู้พิพากษาในศาลฎีกา ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาจำนวน 9 คน ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาโดยลงคะแนนลับ และเลือกเป็นรายคดี
          เหตุที่กำหนดให้มีศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ก็คือเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นและการใช้อำนาจหน้าที่ในทางมิชอบของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองระดับสูง ซึ่งการกระทำดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติอย่างร้ายแรงทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง รวมทั้งอาจกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพหรือทรัพย์สินของประชาชนได้

          การบริหารงานศาลยุติธรรม
          ข้าราชการที่ปฏิบัติงานในศาลยุติธรรมแยกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ ข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรมกับข้าราชการศาลยุติธรรม

          ข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม
          ข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม มักเรียกกันโดยทั่วไปว่าผู้พิพากษา เป็นผู้ทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาอรรถคดีต่าง ๆ ข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม ได้แก่ ผู้ที่ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้ ประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ผู้พิพากษาประจำศาล และผู้ช่วยผู้พิพากษา

          ข้าราชการศาลยุติธรรม
          ข้าราชการศาลยุติธรรม คือ เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการต่าง ๆ ในศาลยุติธรรมหรือสำนักงานของศาลยุติธรรม เช่น ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน การบัญชี งานส่งเสริมงานตุลาการ และงานวิชาการ เพื่อช่วยค้นคว้าทางวิชาการแก่ผู้พิพากษา และประสานงานกับส่วนราชการต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้ศาลยุติธรรมปฏิบัติงานได้สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ

          ราชการในศาลยุติศาล
          ราชการของศาลยุติธรรมประกอบด้วยการดำเนินการของศาล การดำเนินการเกี่ยวกับข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม และการดำเนินการเกี่ยวกับข้าราชการศาลยุติธรรม มีคณะกรรมการ 3 คณะเป็นผู้รับผิดชอบ ดังนี้
1. คณะกรรมการการบริหารศาลยุติธรรม (กบศ.)
กบศ.มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการบริหารราชการศาลยุติธรรม ในส่วนที่เกี่ยวกับงานบริหารราชการ และงานธุรการของสำนักงานศาลยุติธรรมให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผน และประเพณีปฏิบัติของทางราชการศาลยุติธรรม เช่น มีอำนาจหน้าที่ต่อไปนี้
          1. ออกระเบียบหรือประกาศ หรือมีมติ เพื่อการบริหารราชการศาลยุติธรรมในส่วนที่เกี่ยวกับงานบริหารราชการ และงานธุรการของสำนักงานศาลยุติธรรม ให้เป็นไปตามนโยบายของประธานศาลฎีกา รวมทั้งมีอำนาจยับยั้งการปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามระเบียบ ประกาศ หรือมตินั้นด้วย
          2. ให้ความเห็นชอบในการเสนอร่างกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการ และการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนของศาลยุติธรรม รวมทั้งมีอำนาจเสนอขอตั้งศาลใหม่ต่อคณะรัฐมนตรีด้วย
          3. พิจารณาให้ความเห็นชอบในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายในการบริหารราชการของศาลยุติธรรม และสำนักงานศาลยุติธรรม
          4. พิจารณาให้ความเห็นชอบในการบริหารจัดการงบประมาณ และการพัสดุของศาลยุติธรรมและสำนักศาลยุติธรรม
          5. กำหนดวันทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดราชการประจำปี และการลาหยุดราชการของข้าราชการฝ่ายตุลาการ และลูกจ้างของสำนักงานศาลยุติธรรม
2. คณะกรรมการตุลาการศาลยุตธรรม (กต.)
กต. มีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการศาลยุติธรรม (ผู้พิพากษา) ให้เป็นไปตามกฎหมาย เช่นการแต่งตั้ง การโยกย้าย การเลื่อนตำแหน่ง การลงโทษ เป็นต้น โดย กต. มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (อกต.) ประจำชั้นศาล ศาลละ 1 คณะ ได้แก่
          1. อกต. ศาลฎีกา
          2. อกต. ศาลอุทธรณ์
          3. อกต. ศาลชั้นต้น
          อกต. ของแต่ละชั้นของศาลยุติธรรมมีอำนาจหน้าที่กลั่นกรอง เสนอความเห็นเกี่ยวกับการแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง รวมทั้งการลงโทษข้าราชการตุลาการในชั้นศาลนั้นต่อ กต. กำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
3. คณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม (กศ.)
          กศ. มีอำนาจออกระเบียบ หรือประกาศเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล และการอื่นของสำนักงานศาลยุติธรรม ในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการศาลยุติธรรม เช่น การแต่งตั้ง โยกย้าย เลื่อนตำแหน่ง การลงโทษ การจัดสวัสดิการหรือการสงเคราะห์ เป็นต้น


แบบทดสอบหลังเรียน เรื่องรัฐบาลไทย(คณะรัฐมนตรี)

รัฐบาลไทย(คณะรัฐมนตรี)


คณะรัฐมนตรี
  
        คณะรัฐมนตรี หรือที่นิยมเรียกกันว่ารัฐบาล เป็นคณะบุคคลซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐสภาให้ใช้อำนาจบริหาร มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและบริหารประเทศให้เป็นไปตามนโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา เพื่อความผาสุก ความปลอดภัย และความสงบของประชาชนทั้งประเทศ
          คณะรัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งสรุปความสำคัญของคณะรัฐมนตรีได้ดังนี้
          1. คณะรัฐมนตรีเป็นองค์กรฝ่ายบริหารที่มีอำนาจหน้าที่ในการใช้กฎหมาย กล่าวคือเป็นคณะบุคคลที่ทำให้กฎหมายมีผลบังคับใช้หลังจากที่รัฐสภาได้ตรากฎหมายออกมาแล้ว เช่น รัฐสภาออกพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการจัดตั้งศาลภาษีอากรกลาง คณะรัฐมนตรีก็จะต้องจัดตั้งศาลภาษีอากรกลางขึ้นมา ซึ่งจะทำให้กฎหมายมีผลบังคับใช้ รัฐสภาออกพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีอากร คณะรัฐมนตรีก็มีหน้าที่จัดเก็บภาษีตามที่พระราชบัญญัติกำหนดไว้ เป็นต้น
          2. คณะรัฐมนตรีเป็นองค์กรที่มีอำนาจตามกฎหมายมากมาย สามารถกำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินได้ตามแนวคิดของคณะรัฐมนตรีคณะนั้นๆ มีอำนาจในการควบคุมบังคับบัญชาข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐทั่วประเทศ
          3. คณะรัฐมนตรีมีอำนาจทางการเมืองทั้งภายในประเทศและนอกประเทศ คณะรัฐมนตรีเป็นผู้ใช้อำนาจทางการเมืองภายในประเทศด้วยในการบริหารราชการแผ่นดิน และใช้อำนาจทางการเมืองภายนอกประเทศในการติดต่อกับต่างประเทศแทนรัฐหรือชาติไทย การกระทำนั้นผูกพันกับประเทศ
อำนาจหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี
         
 อำนาจหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 รวมทั้งตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา และระเบียบต่างๆ ตลอดจนตามประเพณีการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยมีอยู่มากมายด้วยกัน สรุปได้ดังนี้
          1. กำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน ตามนโยบายที่แถลงขอความเห็นชอบจากรัฐสภา
          2. ควบคุมข้าราชการประจำให้นำนโยบายไปปฏิบัติให้บังเกิดผล
          3. ประสานงานกับกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เพื่อให้กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกันได้ร่วมมือกันปฏิบัติงาน
          4. กำหนดระเบียบหรือข้อบังคับให้กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ คณะรัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่จะกำหนดระเบียบหรือข้อบังคับในเรื่องต่างๆ เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย เพื่อให้กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ
          5. พิจารณาและมีมติในเรื่องต่างๆ ที่กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ เสนอมาให้คณะรัฐมนตรีวินิจฉัยชี้ขาด ทั้งนี้เนื่องจากในการดำเนินงานของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ย่อมจะต้องมีปัญหาเกิดขึ้นเสมอ ทั้งเรื่องเกี่ยวกับนโยบาย เรื่องใหม่ซึ่งควรจะให้คณะรัฐมนตรีกำหนดเป็นนโยบายหรือเรื่องซึ่งมีลักษณะเป็นงานประจำ ที่กฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับได้กำหนดให้ต้องขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน
          เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินดำเนินไปตามนโยบายของรัฐบาล และเพื่อกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการต่างๆ ให้ชัดเจน ไม่ซ้ำซ้อนกัน จึงได้ตรากฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินขึ้น ปัจจุบันนี้ใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 ซึ่งจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินออกเป็น 3 ส่วน คือ ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค และระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
1. ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
          แบ่งส่วนราชการออกเป็นกระทรวง และส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง ดังนี้
          1.1
 สำนักนายกรัฐมนตรี มีฐานะเป็นกระทรวง มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ มีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมีปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับผิดชอบและบัญชาข้าราชการประจำรองนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตี และรัฐมนตีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
          สำนักนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของนายกรัฐมนตีและคณะรัฐมนตรีรับผิดชอบการบริหารราชการทั่วไป เสนอแนะนโยบายและวางแผนพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และความมั่นคง และราชการเกี่ยวกับการงบประมาณ ระบบราชการ การบริหารงานบุคคล กฎหมาย และพัฒนากฎหมาย การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการ การปฏิบัติภารกิจพิเศษ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักนายกรัฐมนตี หรือส่วนราชการที่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี หรือที่มีได้อยู่ภายในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงใดโดยเฉพาะ
          1.2
 กระทรวง แต่ละกระทรวงมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง เป็นผู้ช่วย มีปลัดกระทรวงเป็นผู้รับผิดชอบและบังคับบัญชาข้าราชการประจำในกระทรวงรองจากรัฐมนตรี
          ในแต่ละกระทรวงจะมีอำนาจหน้าที่ตางกันตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 โดยให้มีกระทรวงและส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวงทั้งสิ้น 20 กระทรวง ดังนี้
 
               (1)
 สำนักนายกรัฐมนตรี (ได้กล่าวมาแล้ว)
               (2)
 กระทรวงกลาโหม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรจากภัยคุกคามทั้งภายนอกและภายในประเทศ การรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ สนับสนุนการพัฒนาประเทศ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหม หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงกลาโหม
               (3)
 กระทรวงการคลัง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงินการคลังแผ่นดิน การประเมินราคาทรัพย์สิน การบริหารพัสดุภาครัฐ กิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ ทรัพย์สินของแผ่นดิน ภาษีอากร การรัษฎากร กิจการทำรายได้ที่รัฐมีอำนาจดำเนินการให้แต่ผู้เดียวตามกฎหมาย และไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการอื่น การบริหารหนี้สาธารณะ การบริหารและการพัฒนารัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการคลังหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการคลัง
               (4)
 กระทรวงการต่างประเทศ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการต่างประเทศและราชการอื่นตามที่ได้มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศ หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ
               (5)
 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การกีฬา การศึกษาด้านกีฬา นันทนาการ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหนาที่ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
               (6)
 กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคม การสร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในสังคม การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในชีวิต สถาบันครอบครัวและชุมชน และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
               (7)
 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับเกษตรกรรม การป่าไม้ การจัดหาแหล่งน้ำและพัฒนาระบบการชลประทาน ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร ส่งเสริมและพัฒนาระบบสหกรณ์ รวมตลอดทั้งกระบวนการผลิตและสินค้าเกษตรกรรมและราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
               (8)
 กระทรวงคมนาคม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการขนส่ง ธุรกิจการขนส่ง การวางแผนจราจร และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม และส่วนราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้ เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงคมนาคม หรือส่วนราชการอื่นที่สังกัดกระทรวงคมนาคม
               (9)
 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสงวนอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
               (10)
 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนส่งเสริม พัฒนา และดำเนินกิจการเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การอุตุนิยมวิทยา และการสถิติ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
               (11)
 กระทรวงพลังงาน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดหา พัฒนาและบริหารจัดการพลังงาน และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงพลังงานหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงพลังงาน
               (12)
 กระทรวงพาณิชย์ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการค้า ธุรกิจบริการ ทรัพย์สินทางปัญญา และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงพาณิชย์
               (13)
 กระทรวงมหาดไทย มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบำบัดทุกข์บำรุงสุข การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน การอำนวยความเป็นธรรมของสังคม การส่งเสริมและพัฒนาการเมืองการปกครอง การพัฒนาการบริหารราชการส่วนภูมิภาค การปกครองส่วนท้องที่ การส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและพัฒนาชุมชน การทะเบียนราษฎร ความมั่นคงภายในกิจการสาธารณภัย และการพัฒนาเมืองและราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงมหาดไทย
               (14)
 กระทรวงยุติธรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการกระบวนการยุติธรรม เสริมสร้างและอำนวยความยุติธรรมในสังคม และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงยุติธรรมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงยุติธรรม
               (15)
 กระทรวงแรงงาน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารและคุ้มครองแรงงาน พัฒนาฝีมือแรงงาน ส่งเสริมให้ประชาชนมีงานทำ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงแรงงานหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงแรงงาน
               (16)
 กระทรวงวัฒนธรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับศิลปะ ศาสนา และวัฒนธรรม และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงวัฒนธรรมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม
               (17)
 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน ส่งเสริม และพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
               (18)
 กระทรวงศึกษาธิการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและกำกับดูแลการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท กำหนดนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษา สนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษาส่งเสริมและประสานงานการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการกีฬาเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตามตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษา และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
               (19)
 กระทรวงสาธารณสุข มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพอนามัย การป้องกัน การควบคุม และรักษาโรคภัย การฟื้นฟูสมรรถภาพของประชาชน และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของการทรวงสาธารณสุขหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
               (20)
 กระทรวงอุตสาหกรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม การส่งเสริมการลงทุน การพัฒนาผู้ประกอบการ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงอุตสาหกรรมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม
          1.3
 กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นมีฐานะเป็นกรม เป็นส่วนราชการที่แบ่งรองลงมาจากกระทรวง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการส่วนใดส่วนหนึ่งของกระทรวง มีอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรมให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทางและแผนการปฏิบัติข้าราชการของกระทรวง ในกรมหนึ่งอาจมีรองอธิบดีหรือผู้ช่วยอธิบดี เป็นผู้บังคับบัญชารองจากอธิบดี
          1.4
 ส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง เป็นส่วนราชการอิสระไม่สังกัดกระทรวง แต่ขึ้นตรงต่อนกยกรัฐมนตรี ได้แก่ สำนักราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ราชบัณฑิตยสถาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ส่วนสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และสำนักอัยการสูงสุด อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
2. ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
          การบริหารราชการส่วนภูมิภาค เป็นการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินในท้องที่ต่างๆ จากส่วนกลางเพื่อปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล และของกระทรวง และกรมต่างๆ โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็นจังหวัดและอำเภอ
          2.1
 จังหวัด จัดตั้งขึ้นโดยตราเป็นพระราชบัญญัติ มาฐานะเป็นนิติบุคคล โดยรวมท้องที่หลายๆ อำเภอขึ้นเป็นจังหวัด และมีส่วนราชการของกระทรวง หรือกรมต่างๆ ไปตั้งอยู่ ณ จังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาบรรดาข้าราชการซึ่งปฏิบัติราชการส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัด และเป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรี กระทรวง กรม มาปฏิบัติให้เหมาะสมกับท้องที่
          2.2
 อำเภอ เป็นส่วนราชการส่วนภูมิภาครองจากจังหวัด อำเภอหนึ่งประกอบด้วยหลายตำบล มีนายอำเภอเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการภายในอำเภอและรับผิดชอบงานบริหารราชการของอำเภอ นอกจากนี้มีปลัดอำเภอและหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ ซึ่งกระทรวง กรมต่างๆ ส่งมาประจำให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือนายอำเภอ
          หน่วยงานรองลงไปจากอำเภอ คือ ตำบล ในแต่ละตำบลมีกำนันเป็นหัวหน้าปกครอง หน่วยงานย่อยรองตำบลลงไป คือ หมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านซึ่งได้รับเลือกตั้งจากประชาชนในหมู่บ้านเป็นหัวหน้าปกครอง

3. ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
          ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เป็นการกระจายอำนาจปกครองไปให้ประชาชนมีส่วนในการปกครองท้องถิ่น โดยจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล และราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา
          3.1
 องค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นหน่วยการปกครองที่ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มีหน้าที่ดำเนินกิจการด้านการพัฒนา การคุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการแบ่งสรรเงินให้แก่ราชการส่วนท้องถิ่นอื่น องค์การบริหารส่วนจังหวัดประกอบด้วย สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
          สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งได้รับเลือกตั้งจากราษฎรในจังหวัดนั้น มีจำนวนมากน้อยตามเกณฑ์ของราษฎรในจังหวัด เพื่อทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ
          นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ประกอบด้วยนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 คน และรองนายก 2-4 คน ตามเกณฑ์ของสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด เพื่อทำหน้าที่ฝ่ายบริหาร
          3.2
 เทศบาล การจัดตั้งเทศบาลให้ดูสภาพท้องถิ่นอันสมควรยกฐานะเป็นเทศบาล โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ซึ่งอาจตั้งเป็นเทศบาลตำบล เทศบาลเมือง หรือเทศบาลนคร ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด เทศบาลประกอบด้วยสภาเทศบาล และคณะเทศมนตรี
          สภาเทศบาล ประกอบด้วย สมาชิกซึ่งประชาชนเลือกตั้งขึ้นมาตามกฎหมาย ทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ
          คณะเทศมนตรี ประกอบด้วย นายกเทศมนตรี และเทศมนตรีตามจำนวนที่กฎหมายกำหนด คณะเทศมนตรีทำหน้าที่บริหารงานของเทศบาลภายใต้การควบคุมของสภาเทศบาล และมีปลัดเทศบาลเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานเทศบาล และงานประจำของเทศบาล
          3.3
 สภาตำบล เป็นการปกครองส่วนท้องถิ่นตาม พระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มีฐานะเป็นนิติบุคคล สมาชิกสภาตำบลประกอบด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้านของทุกหมู่บ้านในตำบล แพทย์ประจำตำบล และสมาชิกซึ่งได้รับเลือกตั้งจากราษฎรในแต่ละหมู่บ้านในตำบลนั้นเป็นสมาชิกสภาตำบล หมู่บ้านละหนึ่งคน
          3.4
 องค์การบริหารส่วนตำบล เป็นหน่วยการปกครองที่พัฒนามาจากสภาตำบลตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ซึ่งกำหนดให้ตำบลที่มีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกันสามปี เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละ 150,000 บาท จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล โดยทำเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทยและประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยพ้นสภาพจากสภาตำบลนั้น และมีฐานะเป็นนิติบุคคล
          องค์การบริการส่วนตำบล ประกอบด้วย สภาองค์การบริหารส่วนตำบลและคณะกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล
          สภาองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย สมาชิกซึ่งได้รับเลือกตั้งจากราษฎรในตำบลหมู่บ้านละ 2 คน หากตำบลใดมี 1 หมู่บ้าน ให้เลือกสมาชิกได้ 6 คน ถ้าตำบลใดมี 2 หมู่บ้านให้เลือกสมาชิกได้หมู่บ้านละ 3 คน และให้สภาตำบลเลือกสมาชิกเป็นประธานสภา 1 คน เป็นรองประธานสภา 1 คน เพื่อทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ
          คณะกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย ประธานกรรมการบริหาร 1 คน และกรรมการบริหาร 2 คน ซึ่งได้รับเลือกจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อทำหน้าที่ฝ่ายบริหาร
          3.5
 กรุงเทพมหานคร เป็นการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 4 พ.ศ. 2542) มีฐานะเป็นนิติบุคคล การบริหารกรุงเทพมหานครประกอบด้วย สภากรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
          สภากรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย สมาชิกซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากราษฎรโดยการแบ่งเขตๆ ละ 1 คน ซึ่งใช้ราษฎรประมาณ 100,000 คน เป็นเกณฑ์ สภากรุงเทพมหานครเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ
          ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มาจากการเลือกตั้ง โดยประชาชนออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ เพื่อทำหน้าที่ฝ่ายบริหาร มีรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 4 คน แต่งตั้งโดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีปลัดกรุงเทพมหานครเป็นข้าราชการประจำ เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
          3.6
 เมืองพัทยา เป็นการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษตาม พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 ประกอบด้วย สภาเมืองพัทยา และนายกเมืองพัทยา
          สภาเมืองพัทยา ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ มีสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน โดยสมาชิกเลือกประธานสภาเมืองพัทยา แล้วเสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีแต่งตั้ง
          นายกเมืองพัทยา ทำหน้าที่ฝ่ายบริหาร มาจากการเลือกตั้งของประชาชนเช่นกัน มีอำนาจหน้าที่บริหารภายในองค์กรซึ่งประกอบด้วยสำนักปลัดเมืองพัทยา และส่วนราชการอื่น
          การบริหารส่วนท้องถิ่นเป็นเรื่องอยู่ใกล้ตัวนักเรียน จึงควรทำความเข้าใจ และต่อไปเมื่อนักเรียนพ้นเกณฑ์การศึกษาแล้ว อาจเข้าไปมีส่วนรวมหรือมีบทบาทในองค์การเหล่านี้
การเสริมอำนาจให้รัฐบาลมีเสถียรภาพ
          การที่คณะรัฐมนตรีมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการบริหารประเทศ มีบทบาทหน้าที่ในการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 จึงมีหลักการที่เป็นมาตรการที่ส่งเสริมให้รัฐบาลมีเสถียรภาพในการบริหารประเทศ มาตรการที่สำคัญ คือ
          1. เพิ่มความเข้มแข็งให้พรรคมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ และพรรคที่ได้คะแนนเสียงต่ำกว่าร้อยละ 5 ไม่มีสิทธิได้ ส.ส. ในระบบบัญชีรายชื่อ เพื่อสกัดพรรคเล็กที่เข้ามาในสภาและไม่อาจมีบทบาทได้เต็มที่ แต่อาจสร้างความไร้เสถียรภาพให้รัฐบาลได้ มาตรการนี้จะทำให้พรรคการเมืองใหญ่มีโอกาสดีกว่าพรรคเล็ก
          2. การกำหนดให้การยื่นญัตติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีทำยากกว่ารัฐมนตรีอื่น คือต้องใช้เสียง 2 ใน 5 ของจำนวน ส.ส. ทั้งหมด และจะต้องเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีใหม่มาด้วย เพื่อให้นายกรัฐมนตรีอยู่เหนือความกดดันของรัฐมนตรีอื่นในคณะรัฐบาล
          3. การไม่ให้รัฐมนตรีเป็น ส.ส. ในขณะเดียวกัน เพื่อแยกหน้าที่นิติบัญญัติกับบริหาร เพื่อให้ควบคุม (ส.ส.) กับผู้ถูกควบคุม (รัฐมนตรี) เป็นคนละฝ่าย แต่ละฝ่ายทำหน้าที่ได้เต็มที่ และที่สำคัญที่สุด ก็เพื่อให้รัฐมนตรีในรัฐบาลผสมต้องประพฤติตนให้อยู่ในวินัยและความรับผิดชอบร่วมกันของคณะรัฐมนตรี และเคารพความเป็นผู้นำของนายกรัฐมนตรี เพราะหากถูกนายกรัฐมนตรีถวายคำแนะนำให้พ้นตำแหน่งก็จะกลับเป็น ส.ส. ในสภาต่อไปไม่ได้
          นอกจากนี้ ระบบการแยกหน้าที่ใช้คู่กับระบบบัญชีรายชื่อ ก็จะทำให้พรรคการเมืองส่งคนสำคัญของพรรคและคนมีฝีมือลงในบัญชีรายชื่อ เพื่อไม่ให้ต้องเลือกตั้งซ่อม ส.ส. ที่มาจากการแบ่งเขต ซึ่งจะทำให้ประชาชนสามารถตัดสินใจเลือกคนเป็นรัฐมนตรีได้ทางอ้อม
          4. การป้องกันไม่ให้ ส.ส. ต่อรองกับนายกรัฐมนตรีหรือรัฐบาล เพื่อผ่านกฎหมายให้โดยกำหนดให้การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีต้องกระทำโดยเปิดเผย และให้รัฐบาลสามารถนำร่างกฎหมายที่ไม่ผ่านสภาผู้แทนราษฎร เสนอให้ที่ประชุมร่วมของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาพิจารณาอีกครั้งหนึ่งได้
          5. ให้รัฐบาลตั้งกระทรวง ทบวง กรม หรือโอนหรือยุบกระทรวง ทบวง กรม ได้โดยพระราชกฤษฎีกา เพื่อแก้ปัญหาของบ้านเมืองได้ทันการ และข้าราชการต้องตื่นตัวกับงานใหม่ๆ อยู่เสมอ หากไม่มีการเพิ่มข้าราชการหรือลูกจ้างใน 3 ปี


 
มาตรการในการควบคุมมิให้นายกรัฐมนตรีเป็นเผด็จการ
          เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้ส่งเสริมให้รัฐบาลมีเสถียรภาพแล้ว หากไม่มีการตรวจสอบถ่วงดุล ก็อาจจะทำให้รัฐบาลเผด็จการได้ จึงได้มีมาตรการต่างๆ ไว้เพื่อควบคุมมิให้นายกรัฐมนตรีเป็นเผด็จการ คือ
          1. การห้ามยุบสภาระหว่างที่มีการยื่นญัตติไม่ไว้วางใจแล้ว เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรตรวจสอบการใช้อำนาจนายกรัฐมนตรีก่อน
          2. การให้วุฒิสภาซึ่งไม่มีพรรคการเมืองสามารถเปิดอภิปรายทั่วไปได้ โดยไม่มีการลงมติเพื่อขอให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงหรือชี้แจงปัญหา
          3. การให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 50,000 คน และ ส.ส. 1 ใน 4 ยื่นขอถอดถอนนายกรัฐมนตรีได้ และดำเนินคดีอาญาไว้ด้วย
          4. หากพรรคร่วมรัฐบาลไม่อาจร่วมรัฐบาลได้ก็อาจลาออกมาร่วมกับฝ่ายค้านยื่นญัตติไม่ไว้วางใจร่วมกับฝ่ายค้าน โดยอาจเสนอหัวหน้าพรรคที่พ้นจากรัฐมนตรีร่วมรัฐบาลมาเป็นนายกฯ คนใหม่ได้ หรืออาจให้หัวหน้าพรรคฝ่ายค้านเป็นนายกรัฐมนตรีใหม่ก็ได้
          ในเมื่อคณะรัฐมนตรีเป็นคณะบุคคลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการปกครองและพัฒนาประเทศดังกล่าว รัฐบาลนอกจากจะต้องมีนโยบายที่ดีและปฏิบัติงานด้วยความสามารถและซื่อสัตย์สุจริตแล้ว คณะรัฐมนตรีจะต้องควบคุมดูแลข้าราชการและบุคลากรทั้งหมดในหน่วยงานของรัฐให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถและปราศจากการทุจริตประพฤติมิชอบอีกด้วย ดังนั้นนอกจากประชาชนจะต้องตรวจสอบผู้แทนประชาชนแล้ว ประชาชนยังต้องตรวจสอบดูแลการประพฤติปฏิบัติในการใช้อำนาจของแต่ละบุคคลในคณะรัฐมนตรีอีกด้วย

องค์ประกอบของรัฐมนตรี
          คณะรัฐมนตรีประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี 1 คนกับรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 35 คน มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน 

         
 นายกรัฐมนตรี
          นายกรัฐมนตรีต้องแต่งตั้งจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส)หรือผู้เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่พ้นจากสมาชิกภาพเนื่องจากได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีในอายุของสภาผู้แทนราษฎรชุดเดียวกัน
          การเสนอชื่อผู้สมควรเป็นนายกรัฐมนตรีต้องมี ส.ส รับรองไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิก ทั้งหมด
          การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี ต้องกระทำภายใน 30
 นับแต่วันประชุมรัฐสภาครั้งแรก และต้องเป็นการลงคะแนนเสียงโดยเปิดเผย และมตินั้นต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด
          กรณีที่มติเลือกนายกรัฐมนตรี มีคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดไม่สามารถทำได้ภายใน 30 วัน ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรนำความขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งผู้ได้รับคะแนนเสียงสูงสุด เป็นนายกรัฐมนตรี
          นายกรัฐมนตรีเป็นบุคคลสำคัญที่สุดในคณะรัฐมนตรี เพราะนอกจากจะได้รับเลือกตั้งจากประชาชนโดยทางอ้อมแล้ว นายกรัฐมนตรียังเป็นผู้มีสิทธิ์ขาด ในการเลือกบุคคลมาเป็นรํฐมนตรีอีกด้วย

         
 รัฐมนตรี
          รัฐมนตรีจะแต่งตั้งจาก ส.ส. หรือจากบุคคลภายนอกก็ได้ แต่จะต่างจาก สว. ไม่ได้(ถ้าแต่งตั้งจาก สส. จะพ้นจากตำแหน่ง สส. หลังจาก 30 วัน นับจากวันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี)
          นายกรัฐมนตรีถือว่าเป็นรัฐมนตรี จึงต้องมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับรัฐมนตรี

         
 คุณสมบัติของรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรี
          1. มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด
          2. อายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์
          3. การศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี หรือเทียบเท่า
          4. ไม่เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกตั้งแต่
 2 ปีขึ้นไปโดยพ้นโทษมายังไม่ถึง5ปี เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
          5. ไม่เป็นสมาชิกวุฒิสภา หรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งสมาชิกภาพสิ้นสุดมาแล้ว ยังไม่เกิน 1 ปีเว้นแต่สมาชิกภาพสิ้นสุดลงเพราะสภาหมดอายุ
          6. ไม่มีลักษณะที่เป็นบุคคลต้องห้ามสำหรับรัฐมนตรี 11 ประการ

         
 ลักษณะต้องห้ามมิให้เป็นรัฐมนตรี
          บุคคลที่มีลักษณะต่อไปนี้เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้เป็นรัฐมนตรี
          1. ติดยาเสพติดให้โทษ
          2. เป็นบุคคลล้มละลาย ซึ่งศาลยังไม่สั่งให้พ้นคดี
          3. วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
          4. เป็นภิกษุสามเณร นักพรต หรือนักบวช
          5. อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
          6. เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล
          7. เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
          8. เคยต้องคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นปกติ
          9. เป็นกรรมการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกครอง กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
          10. อยู่ในระหว่างต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เนื่องจากจงใจไม่ยื่นแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน และเอกสารประกอบ หรือจงใจยื่นรายการอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ
          11. เคยถูกวุฒิสภามีมติให้ถอดถอนออกจากตำแหน่งและยังไม่พ้นกำหนด 5 ปีนับแต่วันที่วุฒิสภามีมติ

         
 การกระทำอันต้องห้ามของรัฐมนตรี
          ในขณะดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีจะต้องไม่กระทำการอันต้องห้าม ต่อไปนี้
          1. เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ นอกจากข้าราชการการเมือง
          2. ดำรงตำแหน่งหรือหน้าที่ใดในหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น เว้นแต่ตำแหน่งข้าราชการการเมืองอื่นๆหรือตำแหน่งที่ต้องดำรงตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และจะดำรงตำแหน่งในห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือองค์การที่ดำเนินธุรกิจ โดยมุ่งหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน หรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใดก็มิได้ด้วย
          3. รับเงินหรือประโยชน์ใดๆจากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเป็นพิเศษนอกเหนือไปจากที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจปฏิบัติกับบุคคลอื่นๆในธุรกิจการงานตามปกติทั้งนี้ไม่รวมถึงกับการเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินปีพระบรมวงศานุวงศ์ หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน
          4. รับสัมปทานจากรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ อันมีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอน หรือเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่รับสัมปทาน หรือเข้าเป็นคู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว
          5. เป็นหุ้นส่วน หรือเป็นผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือยังคงไว้ซึ่งความเป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทต่อไป ทั้งนี้ ตามจำนวนที่กฎหมายบัญญัติ ในกรณีที่รัฐมนตรี ผู้ใดประสงค์จะได้รับประโยชน์จากกรณีดังกล่าวต่อไป ให้รัฐมนตรีผู้นั้นแจ้งให้ประธานกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทราบภายใน 3๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง และให้รัฐมนตรีผู้นั้นโอนหุ้นให้นิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ และห้ามมิให้รัฐมนตรีผู้นั้น กระทำการใดอันมีลักษณะเป็นการเข้าไปบริหารหรือจัดการใดๆเกี่ยวกับหุ้น หรือกิจการของห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทดังกล่าว

         
 การพ้นจากตำแหน่งของรัฐมนตรี
          การพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีเฉพาะตัว ความเป็นรัฐมนตรี สิ้นสุดลงเมื่อ
          1. ตาย
          2. ลาออก
          3. ขาดคุณสมบัติ
          4. มีลักษณะต้องห้าม
          5. กระทำการอันต้องห้าม
          6. ต้องคำพิพากษาให้จำคุก (ไม่ว่าโทษหนักเบาอย่างไร)
          7. สภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่ไว้วางใจ
          8. วุฒิสภามีมติให้ถอดถอนจากตำแหน่ง
          9. มีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง (ตามที่นายกรัฐมนตรีถวายคำแนะนำ)

         
 การพ้นจากตำแหน่งของรัฐมนตรีทั้งคณะ รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
          1. ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลง
          2. อายุสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง หรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร
          3. คณะรัฐมนตรีลาออก

         
 การรักษาการของคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่ง
          คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีชุดใหม่จนเข้ารับหน้าที่
          การพ้นจากตำแหน่งในกรณีที่สภาหมดอายุ หรือมีการยุบสภา ห้ามมิให้ ผู้รักษาการใช้อำนาจแต่งตั้งหรือสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง หรือย้ายข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรืเงินเดือนประจำหรือพนักงานของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ

         
 รัฐมนตรีรักษาการ สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ได้
          ในกรณีที่รักษาการเนื่องจากสภาหมดอายุ หรือมีการยุบสภา รัฐมนตรีสามารถสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ชุดใหม่ และถ้าได้รับการเลือกตั้ง ก็อาจดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีรักษาการพร้อมๆกับเป็น ส.ส. ได้จนกว่าจะมีรัฐมนตรีใหม่มารับหน้าที่

         
 การปฏิญาณตนและการถวายสัตย์ปฏิญาณ
          การปฏิญาณตน ก่อนเข้ารับหน้าที่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาต้องปฏิญาณตนในที่ประชุมสภาของตนด้วยถ้อยคำดังต่อไปนี้
          ข้าพเจ้า................(ชื่อผู้ปฏิญาณ).................ขอปฏิญาณว่า ข้าพเจ้าจะปฏิญาณหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ
          การถวายสัตย์ปฏิญาณ คณะรัฐมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ก่อนเข้ารับหน้าที่ด้วยถ้อยคำดังต่อไปนี้
          ข้าพระพุทธเจ้า..............(ชื่อผู้ปฏิญาณ)................ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ แบะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศ และประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ

         
 การแถลงแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี
          ก่อนเข้าบริหารราชการแผ่นดิน คณะรัฐมนตรีต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาภายใน 15 วัน นับแต่วันเข้ารับหน้าที่ เว้นแต่มีกรณีสำคัญและจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจนกระทบต่อประโยชน์สำคัญของแผ่นดิน คณะรัฐมนตรีที่เข้ารับหน้าที่จะบริหารราชการนั้นๆไปพลางก่อนเพียงเท่าที่จำเป็นก่อนแถลงนโยบายก็ได้

         
 การอภิปรายโดยไม่มีการลงมติ
          รัฐสภาอาจมีการอภิปรายโดยไม่มีการลงมติความไว้วางใจในกรณีต่อไปนี้
          1. เป็นการอภิปรายในการแถลงนโยบายของรัฐบาล
          2. เป็นการอภิปรายในการประชุมที่คณะรัฐมนตรีขอให้มีขึ้นเพื่อฟังความคิดเห็นของสมาชิกรัฐสภา(สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรร่วมกับสมาชิกวุฒิสภา)

         
 การฟังความคิดเห็นของคณะรัฐมนตรี
          รัฐธรรมนูญแห้งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีรับฟังความคิดเห็นจากบุคคลอื่น สำหรับใช้เป็นข้อมูลในการบริหารราชการแผ่นดิน ดังนี้
          1. การฟังความคิดเห็นของรัฐสภา ในกรณีที่มีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบิหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีแจ้งไปยังประธานรัฐสภา ขอให้เปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมร่วมกันของทั้ง 2 สภา แต่ในกรณีนี้รัฐสภาจะลงมติในปัญหาที่อภิปรายมิได้
          2. การฟังความคิดเห็นของประชาชน โดยการทะประชาพิจารณ์ หรือการออกเสียงประชามติ

         
 ประชาพิจารณ์
          ประชาพิจารณ์ คือ กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อนการอนุญาตหรือดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียงสำคัญของบุคคล หรือชุมชนท้องถิ่น

         
 ประชามติ
          เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเรื่องใดอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของประชาชนซึ่งไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่เกี่ยวกับบุคคลใดหรือคณะบุคคลใดๆนายกรัฐมนตรีอาจปรึกษากับประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีการออกเสียงประชามติว่าจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับเรื่องนั้นๆ
          ประชามติเช่นนี้เป็นการให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเท่านั้น คณะรัฐมนตรีอาจทำตามหรือไม่ทำตามก็ได้

         
 ผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ คือ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
          -
 ถ้าผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ มาออกเสียงไม่มากกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด ถือว่าประชาชนเสียงข้างมากไม่เห็นด้วยกับเรื่องที่ขอปรึกษานั้น
          -
 ถ้าผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ มาออกเสียงมากกว่า 1 ใน 5 ของผู้จำนวนมีสิทธิออกเสียงทั้งหมดให้ถือมติตามเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงนั้น

         
 ประชามติ (plebiscite) คือ การให้ประชาชนออกเสียงลงคะแนนว่าเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ให้ออกเสียงว่าจะสร้างเขื่อนที่จังหวัด ก หรือไม่(การทำประชามติต้องทำตามหลักเกณฑ์และวิธีการซึ่งกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2541)

         
 อำนาจของคณะรัฐมนตรีในการยุบสภา
          คณะรัฐมนตรี สามารถควบคุมสภาผู้แทนราษฎรได้เพียงวิธีเดียว คือ การยุบสภา ซึ่งยุบได้เพียงสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น ไม่มีบทบัญญัติให้ยุบวุฒิสภา
          พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอาณาจักรในการยุบสภาผู้แทนราษฎรซึ่งในทางปฏิบัตินายกรัฐมนตรีจะถวายความเห็นว่ามีเหตุผลในการยุบสภาเพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงปรมาภิไธยในพระราชกฤษฎีกาประกาศยุบสภา และกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นใหม่ภายใน 60
 วัน

         
 เหตุผลในการยุบสภา
          1. เมื่อสภาผู้แทนราษฎรขัดแย้งกับคณะรัฐมนตรีอย่างรุนแรง เช่น สภาผู้แทนราษฎรไม่ผ่านพระราชกำหนดหรืพระราชบัญญัติสำคัญ และคณะรัฐมนตรีเห็นว่าควรยุบสภาให้ประชาชนตัดสินใจ
          2.
 เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าสมาชิกส่วนใหญ่ของสภาผู้แทนราษฎรมีพฤติกรรมไม่เหมาะไม่ควร สมควรมีการเปลี่ยนแปลง
          3.
 คณะรัฐมนตรีต้องการเปลี่ยนแปลงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากเหตุผลทางการเมืองอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพื่อความได้เปรียบทางการเมือง เช่น คณะรัฐมนตรีทำงานมีความสำเร็จดีเป็นที่พึงพอใจของประชาชน ก็อาจถือโอกาสนี้ยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ จะได้มีสมาชิกพรรคของตนได้รับเลือกตั้งเข้ามามากกว่าเดิม

อำนาจของรัฐสภาในการควบคุมคณะรัฐมนตรี
          สมาชิกรัฐสภา (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา) เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองประเทศแต่ไม่ได้ปกครองเองโดยตรง เพียงแต่ใช้อำนาจปกครองโดยเลือกรัฐบาลทำหน้าที่บริหารประเทศ แล้วควบคุมการทำหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีด้วยวิธีการต่างๆที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น
          1.
 ควบคุมโดยการเลือกตัวนายกรัฐมนตรี
          2.
 ควบคุมโดยการไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล
          3.
 ควบคุมโดยการดำเนินการถอดถอนออกจากตำแหน่งเพราะทุจริต หรือร่ำรวยผิดแกติ
          4.
 ควบคุมด้วยการไม่อนุมัติกฎหมาย (พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด) 

         
 นอกจากนี้ยังมีการควบคุมโดยวิธีปลีกย่อยอื่นๆ อีก ดังจะกล่าวตอไปนี้
         
 1. ควบคุมโดยการเลือกตัวนายกรัฐมนตรี
          สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้มีอำนาจนี้ วุฒิสภาไม่มี
         
 2. ควบคุมโดยการไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี
          สส. มีสิทธิ์เข้าชื่อกันเสนอญัตติเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีได้ ซึ่ง สว. ไม่มีสิทธิ แต่ สว. อาจขอเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติได้ ทั้งนี้ตามเงื่อนไขต่อไปนี้

         
 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.)
          สส. มีสิทธิเข้าชื่อกันเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีได้
          -
 สำหรับการไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีต้องมี สส. เข้าชื่อกันไม่น้อยกว่า 2 ใน 5 และต้องระบุชื่อผู้ที่สมควรเป็นนายกรัฐมนตรีแทนมาด้วย
          -
 สำหรับการไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี ต้องมี สส. เข้าชื่อกันไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 (ไม่จำเป็นต้องระบุ ชื่อผู้ที่สมควรเป็นรัฐมนตรีแทน)
การลงมติไม่ไว้วางใจ ต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่

         
 สมาชิกวุฒิสภา (สว.)
          สว. ไม่มีสิทธิเสนอญัตติขออภิปรายไม่ไว้วางใจ
          แต่ สว. จำนวนไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 มีสิทธิเข้าชื่อกันขอเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภา เพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริง หรือชี้แจงปัญหาสำคัญได้ แต่ไม่มีการลงมติใดๆและทำได้ครั้งเดียว ในแต่ละสมัยประชุมเท่านั้น
         
 3. ควบคุมโดยการดำเนินการเพื่อถอดถอนออกจากตำแหน่ง
          นอกจากควบคุมโดยการไม่ไว้วางใจในนโยบาย และความสามารถในการบริหารราชการแผ่นดินแล้วยังควบคุมการทุจริตต่อหน้าที่หรือการร่ำรวยผิดปกติอีกด้วย วุฒิสภาเป็นผู้มีอำนาจถอดถอน (ดูหัวข้อการตรวจสอบการใช้อำนาจ)
         
 4. ควบคุมโดยการอนุมัติงบประมาณแผ่นดิน
          การบริหารราชการของรัฐบาลจำเป็นต้องมีรายจ่าย คณะรัฐมนตรีจะเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อรัฐสภาว่าจะใช้จ่ายอะไรอย่างไรเป็นจำนวนเงินเท่าใด หากรัฐสภาไม่ยินยอมร่างพระราชบัญญัติงบประมาณก็ตกไป เท่ากับไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีย่อมบริหารราชการไม่ได้ และเป็นประเพณีปฏิบัติที่นายกรัฐมนตรีจะต้องลาออก
         
 5. ควบคุมโดยการอนุมัติร่างพระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด
          ถ้าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกินกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีไม่ลงมติออกเสียงให้ผ่านร่างพระราชบัญญัติฉบับใด ร่างพระราชบัญญัติฉบับนั้นเป็นอันตกไป โดยประเพณีการปกครองแล้ว ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติสำคัญ หรือเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงิน หรือเป็นพระราชกำหนด จะถือเป็นมารยาทที่คณะรัฐมนตรีต้องลาออกจากตำแหน่งทั้งคณะ (นายรัฐมนตรีลาออกเพียงคนเดียว ก็จะทำให้คณะรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ)
   
       6. ควบคุมโดยการตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรี
          สส. และ สว. มีสิทธิตั้งกระทู้ถามเพื่อให้รัฐมนตรีตอบ แต่รัฐมนตรีมัสิทธิที่จะไม่ตอบเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเรื่องนั้นยังไม่ควรเปิดเผย เพราะเกี่ยวกับความปลอดภัยหรือประโยชน์สำคัญของประเทศ
โดย สส. สามารถถามเป็นกระทู้สดได้ด้วย (สว. ไม่สามารถถามเป็นกระทู้สดได้)
         
 7.ควบคุมโดยการอภิปรายซักถามในการแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี หรือเมื่อคณะรัฐมนตรีต้องการฟังความคิดเห็นของสมาชอกรัฐสภา
          ก่อนเข้าบริหารราชการแผ่นดินคณะรัฐมนตรีต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภา แม้ในการแถงนี้จะเป็นการแถงเพื่อทราบโดยไม่มีการลงมติไม่ไว้วางใจ ต่อสมาชิกรัฐสภาก็สามารถอภิปราย ซักถาม ท้วงติงได้