หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 - ความหมาย ความสำคัญ ที่มา ประเภทองค์ประกอบของกฎหมาย


ความหมายของกฎหมาย
                                           ในฐานะที่เราเป็นพลเมืองของประเทศชาติ ถือเป็นสมาชิกของสังคม มีความจำเป็นต้องเรียนรู้กฏหมาย ก็เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคมและความอยู่รอดของคนในสังคม กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันและวิถีการดำเนินชีวิตก็ยิ่งมีความสำคัญ เพราะความเป็นธรรม ความยุติธรรมจะเกิดขึ้นในสังคมก็ต่อเมื่อมนุษย์ได้ใช้กฏหมายเป็นบรรทัดฐานในการตกลง ตัดสินข้อพิพาท การแจกจ่ายและการได้มาอย่างมีกฏเกณฑ์และเป็นที่ยอมรับของสังคม



                   ความหมายของกฏหมาย
               ได้มีผู้ให้ความหมายของกฏหมายไว้ดังนี้
กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระบิดาแห่งกฏหมายไทย
"กฏหมาย คือ คำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองว่าการแผ่นดินต่อราษฏรทั้งหลาย เมื่อไม่ทำตาม ธรรมดาต้องลงโทษ"
ดร.สายหยุด แสงอุทัย
"กฏหมาย คือข้อบังคับของรัฐที่กำหนดความประพฤติของมนุษย์ ถ้าฝ่าฝืนจะได้รับผลร้ายหรือถูกลงโทษ"
กฏหมาย สามารถแยกได้เป็น 2 คำคือ คำว่ากฏซึ่งแผลงมาจากคำว่า กด หรือกำหนดความประพฤติของมนุษย์ ถ้าฝ่าฝืนจะได้รับผลร้ายและถูกลงโทษ
จากคำจำกัดความของกฏหมายข้างต้น สามารถสรุปความหมายของกฏหมายได้ว่า หมายถึง ระเบียบ ข้อบังคับ บทบัญญัติซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐหรือประเทศ ได้กำหนดมาเพื่อใช้ในการบริหารกิจการบ้านเมืองหรือบังคับความประพฤติของประชาชนในรัฐหรือประเทศนั้นให้ปฏิบัติตาม 

                                        เครดิต : http://www.kullawat.net/civic/5.1.htm





ความสำคัญของกฎหมาย

ในสังคมของมนุษย์นั้นมีสมาชิกจำนวนมากที่มีความแตกต่างกัน ทั้งด้านความคิดเห็นและพฤติกรรมต่างๆ จึงจำเป็นต้องมีกฎระเบียบหรือกติการ่วมกัน เพื่อเป็นบรรทัดฐานสำคัญในการควบคุมความประพฤติของมนุษย์ และช่วยรักษาความสงบเรียบร้อยให้กับสังคม ไม่ให้เกิดความวุ่นวาย กฎหมายมีความสำคัญต่อสังคมในด้านต่างๆ ดังนี้
      1. กฎหมายสร้างความเป็นระเบียบและความสงบเรียบร้อยให้กับสังคมและประเทศชาติ  เมื่ออยู่รวมกันเป็นสังคมทุกคนจำเป็นต้องมีบรรทัดฐาน ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติยึดถือเพื่อความสงบเรียบร้อย ความเป็นปึกแผ่นของกลุ่ม
      2. กฎหมายเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์พลเมืองไทยทุกคนต้องปฏิบัติตนตามข้อบังคับของกฎหมาย ถ้าใครฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามต้องได้รับโทษ กฎหมายจะเกี่ยวข้องกับ การดำรงชีวิตของเราตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย

      3. กฎหมายก่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคมคนเราทุกคนย่อมต้องการความ ยุติธรรมด้วยกันทั้งสิ้น การที่จะตัดสินว่าการกระทำใดถูกต้องหรือไม่นั้น ย่อมต้องมีหลักเกณฑ์ ฉะนั้น กฎหมายจึงเป็นกฎเกณฑ์สำคัญที่เป็นหลักของความยุติธรรม

      4. กฎหมายเป็นหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนการกำหนดนโยบายพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าไปในทางใด หรือคุณภาพของพลเมืองเป็นอย่างไร จำเป็นต้องมีกฎหมายออกมาใช้บังคับ เพื่อให้ได้ผลตามเป้าหมายของการพัฒนาที่กำหนดไว้ ดังจะเห็นได้จากการที่กฎหมายได้กำหนดให้บุคคลมีสิทธิได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี โดยรัฐเป็นผู้จัดการศึกษาให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายนั้น ย่อมส่งผลให้ คุณภาพด้านการศึกษาของประชาชนสูงขึ้น หรือการที่กฎหมายกำหนดให้ประชาชนทุกคนมีหน้าที่ พิทักษ์ปกป้อง และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติ ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ย่อมทำให้สังคมและสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนมีมาตรฐานดีขึ้น
       ดังนั้น การที่ประเทศใดจะพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้เป็นไปในแนวทางใดก็ตามถ้าได้มีบทบัญญัติของกฎหมายเป็นหลักการให้ทุกคนปฏิบัติตาม ก็ย่อมทำให้การพัฒนา คุณภาพชีวิตของประชาชนประสบผลสำเร็จได้สูงกว่าการปล่อยให้เป็นไปตามวิถีการดำเนินชีวิตของสังคมตามปกติ



องค์ประกอบของกฎหมาย


(๑) ใครสักคนได้ประกาศหรือโฆษณาแก่บุคคลทั่วไป



(๒) การประกาศนั้นเป็นการบอกให้กระทำความผิดที่มีโทษทางอาญา

(๓) โทษทางอาญานั้นเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกไม่ต่ำกว่า ๖ เดือน

(๔) แค่การประกาศนั้น ผู้ประกาศหรือโฆษณาก็ต้องรับผิดกี่งหนึ่งของโทษที่

กฎหมายกำหนดให้เป็นความผิด

(๕) ถ้าเกิดมีการทำความผิดเกิดขึ้น ผู้ประกาศที่ว่านั้นก็ต้องรับโทษเท่ากับได้

ไปทำผิดเอง
ในระบบกฎหมายประกอบด้วย




๑. ระบบความคิด ความเชื่อ และอุดมการณ์ ในทางกฎหมาย

๑.๑ ความคิดความเชื่อที่อยู่ใน

ก. สังคมทั่วๆไป

ข. ชุมชน

ค. ผู้ใช้กฎหมาย ( นักกฎหมาย )

ง. ผู้ถูกบังคับใช้กฎหมาย (เหยื่อของระบบกฎหมาย)

จ. นักเรียนกฎหมาย

๑.๒ ขอบเขตของความคิด ความเชื่อ และ อุดมการณ์ ของกฎหมาย

(ในแต่ละตำแหน่งแห่งที่สะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมในทางกฎหมายอะไรบ้าง)

๒. ระบบองค์กร และ สถาบันในทางกฎหมาย

๒.๑ บทบัญญัติกฎหมาย

ก. รัฐธรรมนูญ

ข. บทบัญญัติที่เป็นลายลักษณ์อักษร

ค. จารีตประเพณี



๒.๒ องค์กรที่ใช้อำนาจ

ก. องค์กรนิติบัญญัติ - ระดับชาติ

- ระดับท้องถิ่น

- ระดับชุมชน





ข. องค์กรฝ่ายบริหาร ดำเนินการ

- รัฐบาล(ราชการการเมือง) - ระดับชาติ

- ระดับท้องถิ่น



- ราชการประจำ

ง. องค์กรตุลาการ

- ศาล ประเภทต่างๆ

- องค์กรที่ทำหน้าที่กึ่งศาล

- องค์กรที่ทำหน้าที่ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ในระดับต่างๆ



จ. องค์กรอิสระ

องค์ประกอบของกฎหมาย
(๑) ใครสักคนได้ประกาศหรือโฆษณาแก่บุคคลทั่วไป 

(๒) การประกาศนั้นเป็นการบอกให้กระทำความผิดที่มีโทษทางอาญา 
(๓) โทษทางอาญานั้นเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกไม่ต่ำกว่า ๖ เดือน
(๔) แค่การประกาศนั้น ผู้ประกาศหรือโฆษณาก็ต้องรับผิดกี่งหนึ่งของโทษที่
กฎหมายกำหนดให้เป็นความผิด
(๕) ถ้าเกิดมีการทำความผิดเกิดขึ้น ผู้ประกาศที่ว่านั้นก็ต้องรับโทษเท่ากับได้
ไปทำผิดเอง







ประเภทของกฏหมาย

การแบ่งประเภทของกฏหมายโดยพิจารณาจากสภาพภูมิศาสตร์หรือขอบเขตการใช้กฏหมายมาเป็นแนวทางในการแบ่งประเภท อาจแบ่งกฏหมายได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. กฏหมายระหว่างประเทศ
กฏหมายระหว่างประเทศ เป็นกฏหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐในฐานะที่เท่าเทียมกัน เป็นกฏหมายที่เกิดขึ้นจากความตกลงระหว่างรัฐ ซึ่งถือเป็นกติกาในการจัดระเบียบสังคมโลก ตัวอย่างเช่น กฏหมายการประกาศอาณาเขตน่านฟ้า การส่งผู้ร้ายขามแดน และสนธิสัญญาต่างๆ เป็นต้น
2. กฏหมายภายในประเทศ เป็นกฏหมายที่ใช้บังคับภายในรัฐต่อบุคคลทุกคนที่อาศัยอยู่ภายในรัฐ ไม่ว่าจะเป็นประชาชนของประเทศนั้นๆ หรือบุคคลต่างด้าว กฏหมายภายในประเทศยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ กฏหมายมหาชนและกฏหมายเอกชน
กฏหมายมหาชน หมายถึง กฏหมายที่รัฐเข้าไปมีส่วนร่วมในการเป็นคู่กรณีด้วยกับเอกชน มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดรูปแบบการปกครองรัฐ และควบคุมความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานของรัฐกับประชาชนในฐานะที่รัฐจำต้องรักษาผลประโยชน์ของรัฐ และผลประโยชน์ของสาธารณะ โดยทั่วไปกฏหมายมหาชนแบ่งได้เป็น 5 ประเภท คือ


รัฐธรรมนูญ เป็นกฏหมายสูงสุดของประเทศ กำหนดรูปแบบและการปกครองของรัฐ การใช้อำนาจอธิปไตย และการกำหนดสิทธิเสรีภาพของประชาชนในด้านต่างๆ
กฏหมายปกครอง เป็นกฏหมายที่ขยายความให้ละเอียดจากรัฐธรรมนูญบัญญัติเกี่ยวกับองค์กรของรัฐ เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการปฏิบัติการต่างๆ ตามกฏหมาย กำหนดสิทธิของประชาชนในการเกี่ยวพันกับรัฐ
กฏหมายอาญา เป็นกฏหมายที่มีบทบัญญัติครอบคลุมเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของรัฐ ชุมชน และประชาชนโดยส่วนรวม วัตถุประสงค์ของกฏหมายเพื่อที่จะให้ความปลอดภัย สร้างความเป็นระเบียบของรัฐและรักษาศีลธรรมอันดีของประชาชน
กฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา เป็นกฏหมายที่กำหนดรายละเอียดวิธีพิจารณาคดีอาญาทางศาล
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม กำหนดว่าในการพิจารณาคดีนั้น ศาลใดจะมีอำนาจในการพิจารณาคดีประเภทใด

กฏหมายเอกชน
เป็นกฏหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับบุคคล หรือบุคคลกับนิติบุคคล และบทบัญญัติเกี่ยวกับวิธีการต่างๆ ที่ให้บุคคลสามารถรักษาและป้องกันสิทธิมิให้ถูกละเมิดจากบุคคลอื่น เช่น กฏหมายเกี่ยวกับสัญญา การสมรส มรดก กฏหมายเอกชนแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
กฏหมายแพ่ง เป็นกฏหมายที่กำหนดเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของเอกชน เช่น ความมีสภาพเป็นบุคคล ครอบครัว มรดก นิติกรรม เป็นต้น ซึ่งถ้ามีการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของกันและกันแล้ว ไม่กระทบคนส่วนใหญ่ ลักษณะการลงโทษจึงมีเพียงการชดใช้ค่าเสียหายเท่านั้น
กฏหมายพาณิชย์ เป็นกฏหมายที่กำหนดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของบุคคลที่ประกอบการค้าและธุรกิจ เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วน การประกัน เป็นต้น ซึ่งมีผลกระทบกับคนส่วนใหญ่ ดังนั้นลักษณะของกฏหมายจึงต่างจากกฏหมายแพ่ง
กฏหมายพิจารณาความแพ่ง เป็นกฏหมายว่าด้วยข้อบังคับที่ใช้ในการดำเนินคดีเมื่อเกิดคดีความทางแพ่ง

สำหรับประเทศไทย ได้รวมกฏหมายแพ่งและกฏหมายพาณิชย์ไว้เป็นฉบับเดียวกัน เรียกว่า ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์

ลำดับศักดิ์ของกฎหมาย
เป็นแนวความคิดทางกฎหมายของฝรั่งเศส ซึ่งกำหนดลำดับชั้นระหว่างกฎหมายประเภทต่างๆ ซึ่งทำให้ผู้มีอำนาจในการตรากฎหมายที่มีศักดิ์ด้อยกว่าต้องเคารพและไม่สามารถตรากฎหมายที่ละเมิดกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าได้

กฎหมายไทยได้นำเอาหลักดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ อาทิ พระราชบัญญัติจะขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีศักดิ์สูงกว่า ไม่ได้ หรือ พระราชบัญญัติจะต้องไม่มีเนื้อหาขัดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ เป็นต้น ดังที่ มาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 บัญญัติว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้
องค์กรหลักตามรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นผู้ดูแลความสอดคล้องของกฎหมายต่างๆ ต่อกฎหมายสูงสุดหรือรัฐธรรมนูญ คือศาลรัฐธรรมนูญ



ลำดับศักดิ์ของกฎหมายในระบบกฎหมายไทย แบ่งอย่างละเอียดเป็น 7 ชั้น ได้แก่

1. รัฐธรรมนูญ
2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
3. พระราชบัญญัติ
4. พระราชกำหนด
5. พระราชกฤษฎีกา
6. กฎกระทรวง
7. กฎหมายที่ตราโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ลำดับศักดิ์ของกฎหมายในระบบกฎหมายฝรั่งเศส มี 6 ชั้น ได้แก่

1. กฎหมายรัฐธรรมนูญ (Bloc de constitutionnalité) ซึ่งรวมถึงรัฐธรรมนูญและรัฐบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (Loi organique)
2. ความตกลงระหว่างประเทศ ซึ่งประกอบด้วยสนธิสัญญาและกฎหมายสหภาพยุโรป (Bloc de conventionnalité)
3. กฎหมายระดับรัฐบัญญัติ (Bloc de légalité) ซึ่งรวมถึงรัฐกำหนด (Ordonnance) ด้วย
4. หลักกฎหมายทั่วไป (Principes généraux du droit)
5. พระราชกฤษฎีกา (Règlement ซึ่งรวมถึงกฎหมายซึ่งออกโดยฝ่ายบริหาร หรือ Décret และกฎกระทรวง หรือ Arrêté)
6. กฎหมายซึ่งออกโดยหน่วยงานทางปกครองอื่นๆ (Actes administratifs ซึ่งรวมถึงหนังสือเวียนระดับกระทรวง หรือ Circulaire และ Directive
)



___________________________________________________________________


เข้าทำข้อสอบ


http://www.exam.in.th/akame/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น