วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เหตุการณ์กบฎ ร.ศ 130 (กบฎเหล็ง ศรีจันทร์)



[10.jpg]

คณะปฎิวัติ ร.ศ. 130
                    

กบฏครั้งที่1
กบฏ ร.ศ. ๑๓๐
เหตุเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2454 หลังจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ขึ้นครองราชย์ได้ไม่ถึง 2 ปี ทรงเคยแสดงความคิดเห็นว่า พระองค์นิยมระบอบรัฐธรรมนูญ แต่ที่ทรงยังไม่พระราชทาน เพราะเสนาบดีและที่ปรึกษาราชการทั้งชาวอังกฤษและอเมริกาทัดทานไว้ เนื่อง จากเห็นว่า ....... ประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดการศึกษา ไม่สามารถใช้วิจารณญาณในการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรที่ดีได้ จะเป็นเหตุทำให้รัฐสภาไม่สามารถดำเนินการเพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวมอย่างแท้ จริง อย่างไรก็ดี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงตั้งเมืองสมมุติ " ดุสิตธานี " ขึ้นในบริเวณวังพญาไท จำลองรูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตยขึ้นใช้ในเมืองสมมุตินั้น โดยโปรดให้มีธรรมนูญการปกครองลักษณะนัคราภิบาล ซึ่งเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของเมือง มีพรรคการเมือง ๒ พรรค การเลือกตั้งนัคราภิบาลหรือนายกเทศมนตรี และมีสภาการเมืองแบบประเทศประชาธิปไตย
นอก จากนี้ในดุสิตธานีมีการออกหนังสือพิมพ์วิพากษ์วิจารณ์และเสนอข่าวในเมือง จำลอง เพื่อเพียรพยายามปลูกฝังหรือฝึกหัดการปกครองระบบรัฐสภา อย่างไรก็ตามมีผู้วิจารณ์ว่า ดุสิตธานีเป็นเพียงการละเล่นอย่างหนึ่งของรัชกาลที่ ๖ ทรงหาได้ตั้งใจที่จะก่อตั้งรูปการปกครองแบบประชาธิปไตยอย่างจริงจังแต่อย่าง ใดไม่
กลุ่ม คนบางพวกยังได้เพ่งเล็งเข้าไปยังราชสำนักเห็นว่า มีความฟุ้งเฟ้อ ข้าราชการบริหารและพระบรมวงศานุวงศ์บางส่วนซึ่งใกล้ชิดสนิทสนมพระเจ้าอยู่ หัว ก็ทรงโปรดปรานประทานความดีความชอบด้วยยศถาบรรดาศักดิ์ ส่วนบุคคลที่มีความรู้ความสามารถทำงานในหน้าที่ตนอย่างพากเพียรกลับถูกมอง ข้าม แม้แต่พวกที่มีหน้าที่ฟ้อนรำทำเพลง ก็กลับได้ยศถาบรรดาศักดิ์และเป็นที่โปรดปรานให้เข้าเฝ้าใกล้ชิด ความไม่สม่ำเสมอและเป็นธรรมดังนี้ เป็นที่วิจารณ์กันเอิกเกริกทั้งในพระราชสำนักและนอกพระราชสำนัก
ด้วยเหตุนี้ จึงมีกลุ่มคนที่คิดร้ายหมายโค่นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เพื่อเปลี่ยนรูปแบบ การปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมีการเตรียมการมาตั้งแต่ปี พ.ศ ๒๔๕๒ ก่อนกระทำการถึง ๒ ปี บุคคลที่เป็นหัวหน้าขบวนการปฏิวัติในครั้งนี้ คือ
ร.อ. ขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์)
ร.ต.เหรียญ ศรีจันทร์
ร.ต. เนตร์ พูนวิวัฒน์
ร.ต. จรูญ ษตะเมษ
ร.ท จรูญ ณ บางช้าง
ร.ต.เจือ ศิลาอาสน์
และมีนายทหารหนุ่มจากกอง ทัพบกอีกหลายคน และพลเรือนอีกจำนวนหนึ่งร่วมมือด้วย
รวมผู้คิดก่อการทั้ง สิ้น ๙๑ คน
โดยกำหนดเอาวันที่ ๑ มีนาคม ๒๔๕๔ เป็นวันกระทำการ ซึ่งวันนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เสด็จกลับจากการซ้อมรบจากพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม
กลุ่มผู้ก่อการได้วางแผน ถึงขั้นปลงพระชนม์พระเจ้าอยู่หัว โดยมอบหมายให้ ร.อ. หลวงสินาดโยธารักษ์ (ยุทธ คงอยู่) เป็นผู้เสี่ยงชีวิตเข้าปลงพระชนม์ด้วยอาวุธปืนกำลังอีกส่วนหนึ่งจะเข้าจับ กุมคุมตัวพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่รวมทั้งเสนาบดี ปลัดทูลฉลองไว้เป็นตัวประกัน นับเป็นการก่อการที่ร้ายแรง และว่ากันว่า การปฏิวัติครั้งนี้เลียนแบบมาจากการปฏิวัติในประเทศฝรั่งเศสและการปฏิวัติใน รัสเซีย เป็นการปฏิวัติก้าวไปไกลเกินกว่าที่ประชาชนชาวไทยจะรับได้
จุดประสงค์ของกลุ่มผู้ก่อ การ ซึ่ง ร.อ. เหล็ง ศรีจันทร์ เขียนไว้ในหนังสือปฏิวัติ ร.ศ ๑๓๐ ซึ่งพิมพ์เผยแพร่ภายหลังมีว่า
" พวกฝ่ายทหารคิดกันว่า จะทูลเชิญพระราชวงศ์พระองค์หนึ่งขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่พวกพลเรือนบางคนนั้นคิดไปไกลจนถึงกับจะเปลี่ยนการปกครองเป็นสาธารณรัฐ (รีปับริค) เสียเลย "
แต่โชคยังดี ที่ประเทศไทยจะไม่เกิดเหตุร้ายแรงหรือกาลียุค สมาชิกผู้ก่อการได้เกิดมีการหักหลังกันขึ้นเสียก่อน กล่าวคือ ........
ร.อ หลวงสีนาด โยธารักษ์ ผู้จะเป็นมือปืนทำการปลงพระชนม์ ได้นำความลับและแผนการทั้งหมด เข้ากราบทูลสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ และโดยพลันทันที สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอฯ รีบเสด็จไปกราบทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ทรงทราบที่พระราชวังสนาม จันทร์ พวกก่อการในเวลาต่อมาได้ถูกจับกุมกลายเป็นกบฏไปทันที
ในคราวนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการให้ตั้งคณะตุลาการศาลทหารขึ้น เพื่อตัดสินและวินิจฉัยตีความ เกี่ยวกับคดีการล้มล้างระบบการปกครองของคณะกลุ่มผู้คิดปฏิวัติขึ้น
โดยมีคณะตุลาการดังกล่าวรวม ๗ คน คือ
๑. จอมพล เจ้าพระยาบดินทร์เดชานุชิต (ม.ร.ว. อรุณ ฉัตรกุล) ปลัดทูลกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน
๒. พลเอกพระยาศักดาวรเดช จเรทัพบก (แย้ม ณ นคร ต่อมาเป็นจอมพลเจ้าพระยาบดินทร์เดชาวุธ)
๓. พลตรี พระยาพิชัยสงคราม (หม่อมนเรนทร์ราชา สุทัศน์ ต่อมาเป็นพระวิชิตวงศ์วุฒิไกร)
๔. น.อ.พระยาวิจิตรนาวา นายทหารจากกรมพระธรรมนูญ ทหารเรือ
๕. น.ท. พระสุนทรา (วิม พลกุล ต่อมาเป็นพระยาวินัยสุนทร) นายทหารจากกรมพระธรรมนูญ ทหารเรือ
และนาย ทหารจากกรมพระธรรมนูญอีกสองนาย
เมื่อได้พิจารณาพิพากษาตัดสินแล้ว มีผลของการลงโทษ ดังนี้
ชั้นที่ ๑ ให้ลงโทษประหารชีวิต ๓ คน
ชั้นที่ ๒ ลดโทษลงเพียงจำคุกตลอดชีวิต ๒๐ คน
ชั้นที่ ๓ ลดโทษลงเพียงจำคุกมีกำหนด ๒๐ ปี ๓๒ คน
ชั้นที่ ๔ ลดโทษลงเพียงจำคุกมีกำหนด ๑๕ ปี 6 คน
ชั้นที่ ๕ ลดโทษลงเพียงจำคุกมีกำหนด ๑๒ ปี ๓๐ คน
เมื่อคณะตุลาการศาลทหารส่งคำพิพากษาฉบับนี้ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยอีกครั้ง พระองค์ไม่ทรงเห็นชอบด้วย กลับมีพระบรมราชโองการโปรด
เกล้าฯ เสียใหม่ ดังนี้
"....ด้วยได้ตรวจดูคำ พิพากษาของตุลาการศาลทหาร ซึ่งได้พิจารณาปรึกษาโทษคดีมีผู้มีชื่อ ๙๑ คนก่อการกำเริบ ลงวันที่ ๓ พฤษภาคมนั้นตลอดแล้ว เห็นว่าตุลาการพิพากษาลงโทษพวกเหล่านี้ชอบด้วยพระราชกำหนดกฎหมายทุกประการ แล้วแต่ว่าความผิดของพวกเหล่านี้มีข้อสำคัญอยู่ที่จะกระทำร้ายต่อตัวเรา ซึ่งเราไม่ได้มีจิตพยาบาทคาดร้ายต่อพวกนี้ เห็นควรที่จะลดหย่อนผ่อนโทษโดยฐานกรุณา อันเป็นอำนาจพระเจ้าแผ่นดินจะยกให้ได้ เพราะฉะนั้นบรรดาผู้มีชื่อ ๓ คนซึ่งวางโทษไว้ในคำพิพากษาของกรรมการว่าโทษชั้นที่ ๑ ให้ประหารชีวิตนั้น ให้ลดโทษเป็นชั้นที่ ๒ คือ ให้จำคุกตลอดชีวิต
บรรดาผู้ที่มีชื่อ ๒๐ คน ซึ่งลงโทษไว้ว่าเป็นชั้นที่ ๒ ให้จำคุกตลอดชีวิตนั้นให้ลดลงมาเป็นโทษชั้นที่ ๓ คือให้จำคุก ๒๐ ปี นับแต่วันนี้สืบไป
แต่บรรดาผู้มีชื่ออีก ๖๘ คน ซึ่งวางโทษไว้ชั้นที่ ๓ คือให้จำคุก ๒๐ ปี มีจำนวน ๓๒ คน วางโทษชั้น ๔ ให้จำคุก ๑๕ ปี มีจำนวน ๖ คน และวางโทษชั้นที่ ๕ ให้จำคุก ๑๒ ปี มีจำนวน ๓๑ คนนั้น ให้รอการลงอาญาไว้ทำนองอย่างเช่นที่ได้กล่าวในกฎหมายลักษณะอาญามาตรา ๔๑ และ ๔๒ ซึ่งว่าด้วยการลงอาญาให้โทษอย่างน้อยนั้น และอย่าเพิ่งให้ออกจากตำแหน่งยศ
แต่ฝ่ายผู้มีชื่อ ๓ คนที่ได้ลงโทษชั้นที่๒ กับผู้มีชื่อ ๒๐ คนที่ได้ลงโทษชั้นที่ ๓ รวมทั้งสิ้นเป็น ๒๓ คนด้วยกันดังกล่าวข้างต้นนั้น ให้ถอดจากตำแหน่งยศบรรดาศักดิ์ตามอย่างธรรมเนียมซึ่งเคยมีมากับโทษเช่น นั้น......"
ผู้ที่ต้องรับพระราชอาญาจำคุก ๓๒ คนนี้ เป็นพลเรือนคนหนึ่งคือ นายอุทัย เทพหัสดิน ณ อยุธยา กองล่าม กระทรวงยุติธรรม ส่วนนอกนั้นเป็นนายทหารบก ๒๒ คน ซึ่งจะต้องถูกออกจากยศบรรดาศักดิ์ คือ
พวกจำคุกตลอดชีวิต
๑. นายร้อยเอกขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์)
๒. นายร้อยโทจรูญ ณ บางช้าง
๓. นายร้อยตรีเจือ ศิลาอาสน์
พวกจำคุก ยี่สิบปี
๑. นายร้อยโทเจือ ควกุล
๒. นายร้อยตรีเขียน อุทัยกุล
๓. นายร้อยตรีวาส วาสนา
๔. นายร้อยตรีถัด รัตนพันธุ์
๕. นายร้อยตรีหม่อมราชวงศ์แช่ รัชนิกร
๖. นายร้อยตรีเหรียญ ศรีจันทร์
๗. นายร้อยตรีเนตร พูนวิวัฒน์
๘. นายร้อยตรีเนตร พูนวิวัฒน์
๙. นายร้อยตรีสอน วงษ์โต
๑๐. นายร้อยตรีปลั่ง ปูรณโชติ
๑๑. นายร้อยตรีจรูญ ษตะเมษ
๑๒. นายร้อยโททองคำ คล้ายโอภาส
๑๓. นายร้อยตรีบ๋วย บุณยรัตพันธ์
๑๔. ว่าที่นายร้อยตรีศิริ ชุณห์ประไพ
๑๕. นายร้อยตรีโกย วรรณกุล
๑๖. นายร้อยตรีจันทร์ ปานสีดำ
๑๗. นายพันตรีหลวงวิฆเนศร์ประสิทธิ์วิทย์ (อัทย์ หะสิตเวช)
๑๘. นายร้อยตรีบุญ แตงวิเชียร
๑๙. นายร้อยตรีเหรียญ ทิพยรัตน์
ในที่สุดพวกก่อการกบฏต่อพระราชบัลลังก์ก็ได้รับโทษานุโทษ แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แทนที่จะทำการประหารชีวิตกลุ่มกบฏเหล่านั้น กลับได้รับการลดหย่อนผ่อนโทษลงมาเป็นแต่เพียงจำคุกตลอดชีวิตเท่านั้น
ถึงแม้การคิดปฏิวัติของ กลุ่มทหารหนุ่มจะกลายเป็นโศกนาฏกรรมย้อนมาเล่นงานตนเองในที่สุด แต่การกบฏครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่า .... การคิดล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น ได้แพร่หลายมากขึ้นและก่อให้เกิดกลุ่มที่จะดำเนินการอย่างจริงจังขึ้นมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น